พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการ พระราชวัง เป็นผู้แทนพระองค์ เป็นประธานในพิธีสอบเปรียญธรรม 7 ณ วัดสามพระยาวรวิหาร เขตพระนคร กทม.

“บาลี” เป็นชื่อของภาษาที่ใช้จารึกรักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ กล่าวคือ พระไตรปิฎก มีพระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม รวม 84,000 พระธรรมขันธ์ ดังพระบาลีอธิบายไว้ว่า “พุทฺธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี” ภาษาใดรักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ เหตุนั้นภาษานั้นชื่อว่า “บาลี”

ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา การศึกษาภาษาบาลีมีระบบมากขึ้นเริ่มจัดสอบเป็นชั้นๆ มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ต่อมาแบ่งเป็น 9 ชั้น 8 ระดับ คือ ประโยค 1-2 (ระดับ 1) และเปรียญ (ป.ธ. 3-9) (7 ระดับ) ผู้สอบได้ตั้งแต่ ป.ธ. 3-9 ประโยค จะเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดยศ และผ้าไตร ในพระบรมมหาราชวัง

สำหรับพระภิกษุสอบได้ตั้งแต่ ป.ธ. 3 ประโยคขึ้นไป จะใช้คำนำหน้าว่า “พระมหา” ส่วนสามเณรจะใช้คำนำหน้าว่า “เปรียญ” การเข้ารับพระราชทานนี้เรียกว่า “ทรงตั้งพระเปรียญ”

พระมหาวัชระ ติกฺขญาโณ พระอาจารย์ใหญ่ สำนักวัดสามพระยาวรวิหาร กรรมการคุมสอบ คอยดูแลการสอบอย่างใกล้ชิด.
พระมหาวัชระ ติกฺขญาโณ พระอาจารย์ใหญ่ สำนักวัดสามพระยาวรวิหาร กรรมการคุมสอบ คอยดูแลการสอบอย่างใกล้ชิด.

...

กระทั่งปี 2564 เป็นปีที่ประเทศไทยพบวิกฤตการณ์โควิด-19 มีผลกระทบต่อศรัทธาสาธุชนที่จะต้องมาช่วยกันสนับสนุนการสอบพระบาลีสนามหลวง ทุกช่วงชั้นประโยค

แม้ทาง แม่กองบาลีสนามหลวง จะขยับขยายการสอบออกเป็นหลายๆ ระลอก เพื่อไม่ให้ผิดธรรมเนียมปฏิบัติ แต่ในแง่ชาวพุทธแล้วกำลังอยู่ในช่วงแห่งความเดือดร้อน จากพิษภัยโรคร้ายและเศรษฐกิจย่ำแย่โดยทั่วกัน

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ราวกับหยดน้ำอมฤตจากฟากฟ้าสุราลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับอุปถัมภ์การสอบพระบาลีสนามหลวงไว้ในพระอุปถัมภ์ทั้งหมด

พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะภาค 5 รก.เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กก.มหาเถรสมาคม ในฐานะ “แม่กองบาลีสนามหลวง” มาให้โอวาทก่อนสอบ.
พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะภาค 5 รก.เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กก.มหาเถรสมาคม ในฐานะ “แม่กองบาลีสนามหลวง” มาให้โอวาทก่อนสอบ.

ทรงจัดให้มีแพทย์หลวงร่วมกับแพทย์ รพ.สงฆ์ ตรวจคัดกรองที่สนามสอบ พระราชทานเครื่องมือตรวจวัด ATK แมสก์ อุปกรณ์การสอบ พระราชทานภัตตาหารพระราชทานแก่พระภิกษุ ผู้เข้าสอบ กรรมการคุมสอบ และอาหารพระราชทานแก่จิตอาสาที่มาช่วยงาน และพระราชทานมาจนถึงวันสอบครั้งที่ 2 วันตรวจข้อสอบ

ในสนามสอบส่วนกลาง มีผู้แทนพระองค์ไปในพิธีการเปิดการสอบวันแรกทุกพระอารามหลวงที่เป็นสนามสอบ

ณ วัดสามพระยาวรวิหาร เป็นสนามสอบ ป.ธ.7 เมื่อวันที่ 23 ม.ค.66 พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง เป็นประธานในพิธี และเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2566 พล.อ.ศิวะ ภระมรทัต ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ เป็นประธานในพิธีสอบ ป.ธ.8-9

พล.อ.ศิวะ ภระมรทัต ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ เป็นประธานในพิธีสอบ ป.ธ.8-9 ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ที่มาสอบบาลีสนามหลวง.
พล.อ.ศิวะ ภระมรทัต ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ เป็นประธานในพิธีสอบ ป.ธ.8-9 ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ที่มาสอบบาลีสนามหลวง.

...

พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะภาค 5 ผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, กก.มหาเถรสมาคม ในฐานะ “แม่กองบาลีสนามหลวง” ให้ความเมตตาไปเยี่ยมสนามสอบทุกแห่ง การสอบชั้น ป.ธ. 6-9 ประโยค เพิ่งจบไปเมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา และจะเริ่มสอบประโยค 1-2 และ ป.ธ. 3-5 ประโยค วันที่ 15-17 ก.พ.นี้

ในการพระราชทานภัตตาหารนั้น สำนักพระราชวัง มอบหมายให้ สมาคมภัตตาคารไทย ดำเนินจัดการให้ผู้ประกอบการร้านอาหารในจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้จัดทำภัตตาหารพระราชทาน ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ทรงรับการอุปถัมภ์ไว้ โดยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากพระ ราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตรง ที่กองงานในพระองค์ 904

พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง ถวายภัตตาหารพระราชทานแด่พระภิกษุที่มาสอบ มี นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย มาร่วมจัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสงฆ์.
พล.อ.ต.สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง ถวายภัตตาหารพระราชทานแด่พระภิกษุที่มาสอบ มี นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย มาร่วมจัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสงฆ์.

...

มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง ในพิธีทรงตั้งเปรียญธรรมที่มิได้พระราชทานมาในช่วงปี 2563-2564 รวมมาในปีเดียวกันในปี 2565 ในพระบรมมหาราชวัง

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง เป็นขวัญและกำลังใจแก่คณะสงฆ์ทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่ามีความตื่นตัวในการเรียน การสอบมากขึ้นในทุกปี ชาวพุทธเองย่อมปลื้มใจที่บุตรชายตั้งใจเรียน

สังเกตได้จากวันทรงตั้งเปรียญธรรม ณ สนามหลวง มีครอบครัวเหมารถมาแสดงความยินดีกับพระสงฆ์เหมือนกับวันรับปริญญาทางโลก

ในวันนั้นผู้ที่ทรงตั้ง ป.ธ. 6-9 ประโยค จะมีรถหลวงรับจากพระบรมมหาราชวังไปส่งทุกรูปทุกวัด ครอบครัวที่มาแสดงความยินดี มีพระมหากรุณาธิคุณให้จัดเลี้ยงอาหาร เช้า เที่ยง เย็น ดูแลด้วยความใส่ใจเป็นอย่างดี

นับว่ายุคนี้เป็นยุคทองแห่งวงการพระบาลีอย่างแท้จริง.

สนธยา พิกุลทอง รายงาน