การประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ที่ปรับจาก 13 มาตรการเดิมเมื่อปีที่ผ่านมา เป็น 12 มาตรการใหม่

1.คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงช่วงฝนทิ้งช่วง

2.การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก

3.ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ/เขื่อนระบายน้ำและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ

4.เตรียมความพร้อม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ โทรมาตร ให้พร้อมใช้งาน และปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ

5.เตรียมพร้อม/ วางแผนเครื่องจักร เครื่อง มือ บุคลากร ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง ปรับปรุงวิธีการส่งน้ำในพื้นที่เสี่ยงในช่วงฝนทิ้งช่วง

6.ตรวจความมั่นคงปลอดภัย คัน ทำนบ พนังกั้นน้ำ

7.เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำ

8.ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ

9.เร่งเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทช่วงปลายฤดูฝน

10.สร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์

11.การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เครือข่ายต่างๆ

และ 12.ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย

สำหรับการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ที่อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ และคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่ทันในช่วงฤดูฝน ปี 66 เนื่องจากปฏิทินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝนที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. สิ้นสุดวันที่ 31 ต.ค.ของทุกปี ยกเว้นพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. สิ้นสุดวันที่ 28 ก.พ.ของทุกปี

...

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมในปีนี้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สทนช.จึงเสนอให้คณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาใช้แนวทางแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 65 มาใช้เป็นหลักการในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 66 ไปพลางก่อน.

สะ-เล-เต