ดีเดย์ 1 มิ.ย. วอล์กอินฉีดวัคซีน อีกความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 คือเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านี้ได้แบ่งบุคคลแต่ละกลุ่มที่จะได้รับการฉีดวัคซีนก่อน-หลัง บุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก อายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว คือสามารถขึ้นทะเบียนฉีดได้เลยหากมีคุณสมบัติตามนี้

จากนั้นรัฐบาลได้ให้บุคคลทั่วไปสามารถขึ้นทะเบียนได้ แต่ต้องไปลงทะเบียน “หมอพร้อม” เพื่อจัดลำดับและกำหนดสถานที่ให้เกิดความสะดวก

ปรากฏว่าเกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นทำให้กลัวจะเสียชีวิตเบื้องต้น คนจึงไปลงทะเบียนกันน้อยมาก

กรุงเทพฯมากสุด เพราะผู้ติดเชื้อสูงสุดและตื่นตัวมากกว่าคนต่างจังหวัด แต่ว่ายอดก็ตํ่าอย่างไม่น่าเชื่อ

“ลำปาง” มาอันดับ 2 และเข้าเป้าที่สุด

ที่สงสัยกันมากว่าทำไมลำปางจึงมีคนตัดสินใจฉีดมากกว่าที่อื่นๆ ทั้งๆที่จังหวัดนี้ปัญหาไม่หนักเท่าใดนัก

นั่นเป็นเพราะผู้ว่าฯวางแผนงานอย่างบูรณาการ จนสามารถสร้างแรงจูงใจ และเห็นถึงความสำคัญที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกัน

เมื่อสภาพการณ์เป็นไปอย่างนี้จึงเกิดความกังวลว่าจะทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น จึงต้องรณรงค์กันทั้งระบบ

เพื่อสร้างกระแสให้คนกระตือรือร้นที่จะขอฉีดวัคซีน

อีกอย่างหนึ่งก็คือทำยังไงจะให้คนไทยได้ฉีดกันให้มากที่สุด และเร็วที่สุด จึงต้องหาวิธีการกระจายไปให้ทั่วถึง

“วอล์กอิน” จึงเป็นวิธีการหนึ่ง

ล่าสุดรัฐบาลประกาศอย่างชัดเจนว่าจะเริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ 1 มิ.ย.64 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดปริมาณเพิ่มมากขึ้น

แม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องวัคซีน ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด เลือกไม่ได้ แต่ล่าสุดมีอีก 2 ยี่ห้อที่ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ในประเทศได้

...

เท่ากับว่ามี 4 ทางเลือก จะต้องการแบบไหน

ล่าสุดต้องบอกว่าเป็น “ข่าวดี” คือรัฐบาลจะผ่อนปรนมาตรการในพื้นที่คุมสูงสุด และเข้มงวดสามารถที่จะบริโภคในร้านอาหารได้

ก็เท่ากับว่าสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้แล้ว ด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้ 5 ข้อเพื่อใช้พิจารณา

พูดง่ายๆว่าเป็นมาตรฐานเพื่อจะวัดการแพร่ระบาดอยู่ในระดับไหน ซึ่งจะสอดคล้องกับมาตรการผ่อนปรน

ยิ่งการเตรียมการในเรื่องวัคซีนที่น่าจะพูดได้ประสบความสำเร็จทำให้มีวัคซีนทางเลือกเข้ามาเพิ่มเติม

วางแผนการใช้วัคซีนให้ต่อเนื่องไปจนกว่าจะคุมอยู่

ตามไทม์ไลน์น่าจะฉีดได้ไปจนสิ้นปี และเพียงพอตามที่นายกฯได้ประกาศว่าคนไทยทุกคนจะได้รับวัคซีน

อย่าให้เกิดความผิดพลาดระหว่างทางก็แล้วกัน.

“สายล่อฟ้า”