วิธีวัดความเร็วในแนวเล็ง (radial velocity method-RV) เพื่อตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ ขึ้นอยู่กับการตรวจจับความแปรผันของความเร็วของดาวฤกษ์ใจกลาง เนื่องจากทิศทางการเปลี่ยนแปลงของแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์นอกระบบมองไม่เห็นขณะโคจรรอบดาวฤกษ์ ในปัจจุบันมีการตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบมากกว่า 600 ดวง เฉพาะด้วยวิธีวัดความเร็วในแนวเล็ง

ล่าสุด ทีมนักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโลในบราซิล รายงานการตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะใหม่ 2 ดวง โดยใช้วิธีวัดความเร็วในแนวเล็ง จากการสังเกตเห็นดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ ชื่อว่า HIP 104045 ด้วย High Accuracy Radial Velocity Planet Searcher (HARPS) บนกล้องโทรทรรศน์ 3.6 เมตร ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ในเมืองลาซียา ชิลี การสังเกตการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Solar Twin Planet Search (STPS) ดาวเคราะห์ 2 ดวงในระบบดาว HIP 104045 อยู่ห่างออกไปประมาณ 175 ปีแสง ดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงมีชื่อเรียกว่า HIP 104045 c จัดเป็นซุปเปอร์เนปจูนที่อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์แม่ อีกดวงคือ HIP 104045 b เป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี

นักดาราศาสตร์ระบุว่า HIP 104045 b มีมวลขั้นต่ำประมาณ 0.5 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี และโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ทุกๆ 2,315 วัน ขณะที่ HIP 104045 c มีมวลอย่างน้อย 0.136 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี คาบการโคจรของมันคือ 316 วัน.

Credit : ESA/Hubble/NASA