ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในทศวรรษที่ 1990 ในทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ของประเทศชิลี เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก ได้ถูกเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมแล้วจากทีมวิจัยนำโดยนักธรณีวิทยาชาวชิลี คาลอส อาเรบาโล ว่าซากฟอสซิลดังกล่าวเป็นของไดโนเสาร์ไททันโนซอร์ ที่มีศีรษะ คอเล็ก และหางยาว
นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับบรรพชีวินวิทยาชี้ให้เห็นว่าไดโนเสาร์ไททันโนซอร์ตัวนี้อาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเตเชียสเมื่อ 66-80 ล้านปีก่อน ซึ่งในช่วงเวลานั้นทะเลทรายอาตากามาเต็มไปด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ไดโนเสาร์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า Arackar licanantay ซึ่งแปลว่า “กระดูกอาตากามา” ในภาษา Kunza เป็นภาษาที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ครั้งหนึ่งเคยใช้สื่อสารกันในชนเผ่าที่อาศัยในแถบทะเลทรายอาตากามา ทางตอนเหนือของชิลีและทางตอนใต้ของเปรู ทว่า Arackar licanantay มีหลังที่แบนผิดปกติเมื่อเทียบกับไททันโนซอร์ตัวอื่นๆ รวมถึงยังมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับไททันโนซอร์อื่นๆเช่นกัน
...
ทั้งนี้ นักวิจัยเผยว่าอาร์เจนติโนซอรัส (Argentinosaurus) ไดโนเสาร์ซอโรพอดกลุ่มไททันโนซอร์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งค้นพบทางด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส ในอาร์เจนตินา ที่เคยอาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียงกับ Arackar licanantay นั้นมีความยาวมากกว่าถึง 4 เท่า.