นโยบายประชานิยมมักถูกมองด้านลบ ใครหรือรัฐบาลไหนทำเป็นต้องถูกเหมาว่าหวังผลทางการเมือง
แต่มีประเทศหนึ่งทดลองทำจริงจังหาผลดี-ผลเสีย ควรจะทำต่อไม่รอแล้วหรือจะแค่ทดลอง...ไม่ (เอา) อีกแล้ว
ฟินแลนด์ ทดลองโครงการรายได้พื้นฐานทั่วไป (Universal basic income:UBI) เริ่ม ม.ค.2560-ธ.ค.2561 สุ่มเลือกผู้เข้าร่วมเป็นคนว่างงาน 2,000 คน ใช้งบประมาณ 20 ล้านยูโร (ราว 711 ล้านบาท)
สวัสดิการจากยูบีไอ ฟินแลนด์ประเทศในยุโรปที่มีประชากร 5,503,347 คน ช่วยค่าเช่าที่พักเดือนละ 560 ยูโร (เกือบ 20,000 บาท) และสวัสดิการอื่นๆ เป้าหมายคืออยากรู้ว่าคนตกงานที่ได้รับเงินช่วยค่าที่พักจะหางานทำได้หรือไม่ และให้การสนับสนุน ถ้าใครต้องการทำงานกิ๊กอีโคโนมี (การจ้างงานระยะสั้นหรือจ้างงานชั่วคราว) ที่ไม่มั่นคง
ผลเบื้องต้นที่ได้คืออัตราการจ้างงานไม่ค่อยดีขึ้น แต่ผู้เข้าร่วมมีความสุขและรู้สึกกดดันน้อย
ย้อนกลับไปตอนแรกเริ่มโครงการทดลอง ฟินแลนด์ถือเป็นประเทศยุโรปชาติแรกที่ทดสอบแนวคิด “รายได้พื้นฐาน” แบบไม่มีเงื่อนไข ดำเนินการโดยสถาบันประกันภัยสังคม (Kela) หน่วยงานรัฐบาลฟินแลนด์
ฟินแลนด์หยิบยืมแนวคิดจากงานเขียนเรื่องยูโทเปียของเซอร์ โธมัส มอร์ ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1516 หรือ 503 ปีก่อน เป็นแนวคิดที่ถูกนำมาทดลองทำทั่วโลก เช่น คนวัยผู้ใหญ่ใน
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในทางตะวันตกของเคนยา จะได้เงินช่วยเดือนละ 22 ดอลลาร์ (ราว 704 บาท) นาน 12 ปี จนถึงปี 2571 รัฐบาลอิตาลีกำลังเร่งผลักดันโครงการ “รายได้พลเมือง” (citizens’ income) และเมืองอูเทรชต์ในเนเธอร์แลนด์ กำลังศึกษา “รายได้พื้นฐาน” ที่เรียกว่า “โนว์ วอต เวิร์กส” (Know What Works) จนถึง เดือน ต.ค.
...
ทีมนักวิจัยจาก Kela คาดหวังผลไม่ใช่แค่สำเร็จหรือล้มเหลว แต่อยากรู้ด้านอื่นๆของโครงการนี้ด้วย เช่น การใช้รายได้พื้นฐานและข้อบกพร่อง เรื่องนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อนจะเริ่มทดลองโครงการ
รายงานสรุปผลขั้นสุดท้ายจะออกมาในปี 2563 ตอนนั้นจึงจะรู้ผลชัด การทดลองทำโครงการนี้ของฟินแลนด์จะได้ผลดีหรือไม่คุ้ม.
เกรียงศักดิ์ จุนโนนยางค์