เมื่อปี พ.ศ.2520 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ได้ปล่อยยานอวกาศวอยเอเจอร์ วัน (Voyager 1) และวอยเอเจอร์ ทู (Voyager 2) เป็นยานไร้คนขับเพื่อเดินทางไปสำรวจในดินแดนแสนไกลสุดเขตระบบสุริยะของเรา หรือออกไปด้านนอก เหนืออำนาจของแสง อาทิตย์จะสาดส่องถึง ซึ่งยานทั้งคู่ก็เดินทางไปนานถึง 41 ปีแล้ว
ปัจจุบันยานวอยเอเจอร์ วัน ได้เดินทางออกไปอยู่ในพื้นที่ว่างกลางอวกาศ (inters tellar space) ไปแล้วเรียบร้อย ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ยานวอยเอเจอร์ ทู ก็ใกล้ที่จะเดินทางออกจากอาณาเขตเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) ที่มีลักษณะคล้ายฟองอากาศในระบบสุริยะที่ขยายตัวโดยอาศัยลมสุริยะ และจุดสิ้นสุดเขตแดนของเฮลิโอสเฟียร์นั้นเรียกว่าเฮลิโอพอส (heliopause) นั่นหมายถึงว่าเมื่อใดที่ยานวอยเอเจอร์ ทู เคลื่อนผ่านจุดเฮลิโอพอสไปได้ ก็จะกลายเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เดินทางข้ามผ่านกาแล็กซีไปสู่อวกาศห้วงลึก
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เครื่องมือคอสมิก เรย์ ซับซิสเต็ม (Cosmic Ray Subsystem) บนยานวอยเอเจอร์ ทู ได้ตรวจพบอัตรารังสีคอสมิก (cosmic ray) เพิ่มขึ้น 5% ซึ่งรังสีคอสมิกเป็นอนุภาคเคลื่อนที่เร็วที่เกิดขึ้นนอกระบบสุริยะ โดยรังสีคอสมิกบางส่วนถูกขวางโดยฟองเฮลิโอสเฟียร์ ดังนั้น จึงคาดว่ายานวอยเอเจอร์ ทู จะสามารถวัดอัตรารังสี คอสมิกได้เพิ่มขึ้นในขณะที่เข้าใกล้และตัดผ่านขอบเขตของเฮลิโอสเฟียร์ได้.
Credit : NASA/JPL-Caltech