ธปท.ย้ำอุ้มลูกหนี้รายได้น้อย ขึ้นดอก 0.25% กู้ 1 ล้านส่งเพิ่มเดือนละ 208 บาท

Personal Finance

Financial Planning

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ธปท.ย้ำอุ้มลูกหนี้รายได้น้อย ขึ้นดอก 0.25% กู้ 1 ล้านส่งเพิ่มเดือนละ 208 บาท

Date Time: 17 ส.ค. 2565 08:29 น.

Summary

  • ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2565 มีผลประกอบการปรับดีขึ้นจากปีก่อน มีกำไรสุทธิ 64,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.2% สินเชื่อขยายตัว 6.3%

Latest

“ไร้คู่” แต่ต้อง “ไม่ไร้เงิน” 6 วิธีคนโสดวางแผนเกษียณ ออม-ลงทุนให้ถูก รักเงินให้เหมือนเป็นคู่ชีวิต

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2565 มีผลประกอบการปรับดีขึ้นจากปีก่อน มีกำไรสุทธิ 64,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.2% สินเชื่อขยายตัว 6.3% สถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดีกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ stage 3) ไตรมาส 2 ปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ 527,000 ล้านบาท คิดเป็น 2.88% ของสินเชื่อรวม

น.ส.สุวรรณีกล่าวต่อว่า ธปท.ได้มีการประเมินภาพการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และได้หารือกับพาณิชย์ว่า ไม่ได้ห้ามการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ละธนาคารจะต้องประเมินเองตามต้นทุน และสภาพคล่องของที่แห่งมีอยู่ แต่ ธปท.เป็นห่วงลูกหนี้กลุ่มเปราะบางคือ กลุ่มที่มีรายได้น้อย รายได้ผันผวน และธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงขอให้ชะลอผลกระทบที่จะเกิดจากการขึ้นดอกเบี้ยต่อกลุ่มนี้ให้นานที่สุด หรือไม่มีเลย

“โดยในขณะนี้ยังไม่พบว่า ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารรัฐแห่งใดปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจากการประเมินของ ธปท.พบว่า โดยหากอัตราดอกเบี้ย M-rate ปรับขึ้น 100% เท่ากับดอกเบี้ยนโยบายคือ 0.25% ลูกหนี้จะมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.5% เช่น ลูกหนี้มีหนี้ 1 ล้านบาท จะมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น 2,500 บาทต่อปี หรือประมาณ 208 บาทต่อเดือน แต่ในความเป็นจริงการส่งผ่านดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะไม่ใช่ทั้งหมดแต่จะต่ำกว่า 0.25% และการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อจำเป็นต้องดำเนินการ เพราะผลกระทบของเงินเฟ้อต่อประชาชนสูงกว่าที่ 3.6%”

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับปรุงธุรกิจให้กลับมาให้บริการได้ในช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ธปท.ได้ปรับปรุงเงื่อนไขของสินเชื่อฟื้นฟู โดยผู้ประกอบการสามารถขอสินเชื่อการปรับตัวภายใต้ พ.ร.บ.ฟื้นฟูเพิ่มเติมได้อีกส่วนแต่เมื่อรวมกับสินเชื่อฟื้นฟูเดิม ถ้ามีการกู้ไว้ก่อนหน้าไม่เกิน 150 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 5 ปีในช่วง 5 ปีแรก ขณะที่ได้ประเมินแล้วว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีอยู่ยาวจนถึงสิ้นปีนี้ยังเพียงพอ หากจำเป็นออกมาตรการเพิ่มเติมได้ และในเดือน ก.ย.นี้จะมีการกลับมาจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้รอบใหม่ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมด้วย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ