Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
ก.พลังงานโต้สำรองไฟฟ้า 60%

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ก.พลังงานโต้สำรองไฟฟ้า 60%

Date Time: 27 มี.ค. 2566 05:47 น.

Summary

  • กระทรวงพลังงานประเมินว่า ยอดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ของหน้าร้อนปีนี้จะพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากไทยเปิด ประเทศเต็มรูปแบบ ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

Latest

พระสงฆ์เข้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ตได้ ร้านค้าที่เคยลงทะเบียนกับรัฐ แค่กดปุ่มอัปเดตข้อมูล

กระทรวงพลังงานประเมินว่า ยอดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) ของหน้าร้อนปีนี้จะพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากไทยเปิด ประเทศเต็มรูปแบบ ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ขณะที่คณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) เคาะราคาเรียกเก็บค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที ในงวดเดือน พ.ค.–ส.ค. เป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

ปัญหาพลังงานราคาแพงเป็นเรื่องที่ถูกวิจารณ์กันมาพอสมควร โดย เฉพาะตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สถานการณ์ด้านพลังงานทั่วโลกมีความผันผวน อีกทั้งไทยมีปัญหาความไม่ต่อเนื่องในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทานก๊าซธรรมชาติ ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงในช่วงแรก ประกอบกับราคา Spot LNG ที่นำเข้าอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าเอฟที

นอกจากนี้ การที่รัฐบาลพัฒนาระบบพลังงานเพื่อให้สอดรับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด พลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล แน่นอนว่าเป็นแนวทางที่ดี เป็นเทรนด์แห่งอนาคต แต่ต้องยอมรับ ว่าพลังงานเหล่านี้ไม่สามารถผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะมีปัจจัยของช่วงเวลาหรือฤดูกาลมาเกี่ยวข้อง จึงไม่เสถียรเหมือนโรงไฟฟ้าฐาน

สิ่งสำคัญที่สร้างความสับสนแก่สังคมคือ มีการปั้นตัวเลขว่าอัตรา การสำรองไฟฟ้า (Reserve Margin) ของประเทศไทยสูงถึง 50-60% และเป็นต้นเหตุที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่ง ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการ รมว.พลังงาน ได้ออกมายืนยันว่าไม่เป็นความจริง พร้อมอธิบาย สูตรคำนวณอัตราการสำรองไฟฟ้าที่ถูกต้อง ให้เกิดความกระจ่างแก่สังคมดังนี้

การประเมินกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสมต้องพิจารณาจาก 1.กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ได้จริง หรือค่ากำลังผลิตพึ่งได้ Dependable Capacity (ไม่ใช่พิจารณาจาก กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา Contract Capacity เพราะมีบางส่วนที่มาจากพลังงานทดแทน ซึ่งไม่สามารถพึ่งพาได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงไม่สามารถประเมินโดยใช้ยอดกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดได้) 2.ความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งในการประเมินจะใช้ตัวปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak)

สูตรการคำนวณคือ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ได้จริง ลบด้วย ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และหารด้วย ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด แล้วคูณด้วย 100 จะออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์อัตราการผลิตไฟฟ้าสำรอง ทั้งนี้ ทบวง พลังงานระหว่างประเทศ (IEA) แนะนำให้อยู่ในช่วง 20–35% ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ

ลองใส่ตัวเลขจริงการใช้ไฟฟ้าในปี 2565 ไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 52,566 เมกะวัตต์ คิดเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ได้จริง 45,255 เมกะวัตต์ และมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 33,177 เมกะวัตต์

การคำนวณที่ถูกต้องคือนำ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ได้จริง มาคิด 45,255 ลบด้วย 33,177 ได้ 12,078 หารด้วย 33,177 เหลือ 0.364 แล้วคูณด้วย 100 จะได้ 36.4%

ขณะที่การอ้างตัวเลขการสำรองไฟฟ้า 50-60% มาจากการนำ กำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา มาคำนวณ 52,566 ลบด้วย 33,177 ได้ 19,389 หารด้วย 33,177 เหลือ 0.584 แล้วคูณด้วย 100 ได้ 58.4% ซึ่งการอ้างตัวเลขนี้มาจากการคำนวณที่ไม่ถูกหลัก ไม่สะท้อนอัตราการสำรองไฟฟ้าที่แท้จริง

ศ.ดร.พิสุทธิ์ยืนยันว่า ในอนาคตอัตราสำรองไฟฟ้าจะวิ่งเข้าสู่จุดที่ควรจะเป็นคือประมาณ 15% เริ่มตั้งแต่ปี 2568 ทุกอย่างจะดีขึ้น และขอฝากถึงพรรคการเมืองที่หาเสียงกันในช่วงนี้ว่า อย่านำนโยบายลดราคาพลังงานที่เกินจริงมาหาเสียง เพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพลังงาน และวินัยการเงินการคลัง

โครงสร้างพลังงานเป็นเรื่องซับซ้อน มีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง การที่ภาครัฐนำตัวเลขข้อเท็จจริงมาชี้แจง ก็เป็นข้อมูลให้สังคมได้พิจารณาไตร่ตรอง.

ลมกรด


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ