จากข่าววัดไร่ขิง สู่คำถาม ในแต่ละปี วัด “ทำเงิน” จากช่องทางไหนบ้าง ?

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จากข่าววัดไร่ขิง สู่คำถาม ในแต่ละปี วัด “ทำเงิน” จากช่องทางไหนบ้าง ?

Date Time: 16 พ.ค. 2568 17:57 น.

Video

สหรัฐฯ เสี่ยงเบี้ยวหนี้ ? ผลประชุม FED จะมีเซอร์ไพรส์ ? | Thairath Money Night Stand EP.4

Summary

  • จากข่าวเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ยักยอกเงินวัด เอี่ยวเว็บพนัน สู่คำถาม ในแต่ละปี วัด “ทำเงิน” จากช่องทางไหนบ้าง ? ทำไม มีรายได้มหาศาล

Latest


จากข่าวอดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง (ทิดแย้ม) ยักยอกเงินวัด หลายร้อยล้านบาท  ซึ่งเส้นทางการยังเงินส่อเอี่ยวเว็บพนัน สู่คำถามใหญ่ของสังคมไทย ว่า “วัด” แต่ละแห่งมีรายได้ และช่องทางทำ”เงิน” มหาศาลเช่นนี้ จากอะไรบ้าง ?  ภายใต้ ยอดเงินหมุนเวียนในวัดดังบางแห่ง อาจสูงถึงหลักร้อยหรือพันล้านบาทต่อปี 

เมื่อแรงศรัทธากลายเป็นพลังทางเศรษฐกิจ เมื่อกิจกรรมทางศาสนาเดินคู่ไปกับการระดมทุนและระบบตรวจสอบที่อาจยังไม่โปร่งใสเพียงพอ คำถามที่ต้องตามมา ก็คือ เงินวัดบางแห่ง มีความเสี่ยงแค่ไหนที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ดั่งที่เกิดขึ้นในอดีตหลายกรณี “หลวงปู่เณรคำ” ขอบริจาค สู่ การใช้จ่ายที่ฟุ้งเฟ้อส่วนตัว หรือจะเป็นคดี “เงินทอนวัด” ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2561 ,คดีการทุจริต เงินอุดหนุนวัดของเจ้าหน้าที่ นับ 270 ล้านบาท เมื่อไม่นานมานี้ 

อินโฟกราฟฟิกนี้ จะพามาสำรวจ ช่องทาง รายได้ของ “วัด” ว่าในแต่ละปี วัดมี “เงิน” เข้ามาจากทางไหนบ้าง พร้อมชวนตั้งคำถามต่อบทบาทของศรัทธาในโลกที่เงินก็เป็นเครื่องมือหนึ่งของธรรมะ ไม่ต่างจาก “ธุรกิจ” 

โดยอ้างอิงเนื้อหาสำคัญของรายงาน TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) หัวข้อ : วัดกับความเสี่ยง ที่จะถูกใช้เพื่อฟอกเงิน ที่เคยเผยแพร่ไว้ในปี 2566 ระบุว่า จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงินของวัดในประเทศไทย โดย ผศ.ดร. ณดา จันทร์สม 

ซึ่งสำรวจวัดจำนวนเพียง 490 แห่งทั่วประเทศในปี 2555 พบว่า วัดแต่ละแห่งมีรายรับรวมโดยเฉลี่ยประมาณ 3.24 ล้านบาทต่อปี ภายในยอดรวมทั้งหมด 1,388,111,774 บาท 

โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจาก เงินบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน เช่นการซ่อมแซมโบสถ์ การบูรณะศาสนสถานอื่น ๆ เฉลี่ย 2.02 ล้านบาท/ปี 

รองลงมา คือ รายรับจากการจัดสร้างเครื่องบูชา (เช่น วัตถุมงคล ฯลฯ) เฉลี่ย 1.46 ล้านบาท/ปี รวมไปถึง เงินบริจาคในโอกาสพิเศษ เช่น กฐิน ผ้าป่า งานบุญเฉพาะกิจต่าง ๆ เฉลี่ย 1.05 ล้านบาท/ปี เป็นต้น

ทั้งนี้  Thairath Money ตรวจสอบจากข้อมูลทะเบียนวัดทั่วประเทศ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (อัปเดตล่าสุด พ.ศ. 2564) พบว่า ประเทศไทยมีวัดมากถึง 42,626 แห่ง สะท้อน ยิ่งจำนวนวัดมากเท่าไร ความเสี่ยงที่วัดจะถูกใช้เป็น “เครื่องมือ” ในการกระทำความผิด เช่น การฟอกเงิน ก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย หาก ไม่มีระบบกำกับดูแลที่ทั่วถึงและรัดกุม

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ