เชื่อได้อย่างสนิทใจว่า “พระศาสดา” ของทุกศาสนา สอนให้ทุกคนเป็นคนดี มีศีลธรรมประจำใจเคียงคู่กายอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความสุขสงบสบายทั้งกายและใจ

โดยเฉพาะ ศาสนาพุทธ หาก พุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอนของ พระพุทธองค์ ให้ได้เพียงแค่ “ศีล 5” เท่านั้น ความสุขทุกด้านจะบังเกิดขึ้นทันที ทั้งบนโลกใบนี้ ทั้งวิถีชีวิตของตัวเอง ของ ครอบครัว และ ของหมู่มวลมนุษยชาติ

ล่วงมาถึงปี 2562 ที่คำสอนอันเป็นอมตะได้แพร่กระจายไปทุก หย่อมหญ้าบนโลก แม้จะจางหายไปบ้างในบางช่วงบางเวลาก็เป็นไปตามกฎที่เป็น “สัจธรรม” แต่ปัจจุบันชาวโลกเริ่มหันมานับถือ ศาสนาพุทธ เพิ่มมากขึ้นโดยตลอด

พระประวัติ ปวตฺโต หัวหน้าคณะพระธุดงค์จากไทย ร่วมปฏิบัติธรรมภายในมหาเจดีย์พุทธคยา (จำลอง) ที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ.
พระประวัติ ปวตฺโต หัวหน้าคณะพระธุดงค์จากไทย ร่วมปฏิบัติธรรมภายในมหาเจดีย์พุทธคยา (จำลอง) ที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ.

...

นายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานปิดโครงการ “เดินตามรอยบาทพระศาสดา” ที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ อย่างเป็นทางการ.
นายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานปิดโครงการ “เดินตามรอยบาทพระศาสดา” ที่วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ อย่างเป็นทางการ.

ณ วันนี้ การเผยแผ่พุทธศาสนา ได้เดินหน้าเต็มรูปแบบ เฉพาะอย่างยิ่งที่ต้นทางของพระพุทธศาสนา อินเดีย เนปาล คณะธรรมทูตไทยที่นำโดย พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ในฐานะหัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย เนปาล

ผนึกกำลังกับ พุทธศาสนิกชนทุกชนชาติ ช่วยกันเผยแผ่พระธรรมคำสอนได้อย่างเป็นรูปธรรมมาอย่างต่อเนื่อง การเผยแผ่นั้นทำได้ในหลายรูปแบบ นอกจากพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจะปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว

“การออกธุดงค์” ที่ปฏิบัติได้ทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวัตรปฏิบัติ ที่ พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตไว้ ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เพราะเป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น

ชาวไทยได้มีโอกาสใส่บาตรแรกแก่คณะพระธุดงค์ ที่เริ่มปฏิบัติธรรม ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ก่อนคณะพระธุดงค์ออกเดินทางไปยังแผ่นดินพุทธภูมิ.
ชาวไทยได้มีโอกาสใส่บาตรแรกแก่คณะพระธุดงค์ ที่เริ่มปฏิบัติธรรม ณ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ก่อนคณะพระธุดงค์ออกเดินทางไปยังแผ่นดินพุทธภูมิ.

ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบาย ไปมาได้สะดวกด้วย ไม่มีภาระมาก “เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป” มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียงต้องอาบัติทุกกฎ

หลังออกพรรษา เป็นห้วงเวลาที่พระภิกษุจะเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม ที่สำคัญคือเพื่อ “เผยแผ่ธรรมะ” ด้วย ซึ่งเรามักจะได้ยินว่าออก “ธุดงค์” และมักจะเรียกพระสงฆ์ที่จาริกไปเช่นนี้ว่า “พระธุดงค์”

พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ อินเดีย นำคณะพระธุดงค์เจริญพระพุทธมนต์ที่สถูปเกสรียา จ.จัมปารัน รัฐพิหาร.
พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ อินเดีย นำคณะพระธุดงค์เจริญพระพุทธมนต์ที่สถูปเกสรียา จ.จัมปารัน รัฐพิหาร.

ที่ประเทศอินเดียและเนปาล พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการปฏิบัติ และเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทุกรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง

จนปัจจุบันได้รับการยอมรับจากชาวอินเดียและเนปาลเป็นอย่างมาก ถึงกับมีการส่งกุลบุตร กุลธิดา มาบรรพชา อุปสมบทกันทุกปี พร้อมยังให้การสนับสนุนแก่คณะพระธรรมทูต ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมายังผู้แสวงบุญชาวไทยทุกด้านอีกด้วย

ล่าสุด ได้มอบหมายให้ พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย เป็นผู้บริหาร กิจกรรม โครงการพระธุดงค์ธรรมยาตรา “ตามรอยบาทพระศาสดา” ครั้งที่ 7

พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล และเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นประธานให้โอวาทแก่ คณะพระธุดงค์จากประเทศไทย ก่อนออกเดินธุดงค์ “ตามรอยบาทพระศาสดาพุทธภูมิ-อินเดีย-เนปาล” ไปยัง 4 สังเวชนียสถาน ที่สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ภายในวัดไทยพุทธคยา.
พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล และเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นประธานให้โอวาทแก่ คณะพระธุดงค์จากประเทศไทย ก่อนออกเดินธุดงค์ “ตามรอยบาทพระศาสดาพุทธภูมิ-อินเดีย-เนปาล” ไปยัง 4 สังเวชนียสถาน ที่สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ภายในวัดไทยพุทธคยา.
ชาวอินเดียรอใส่บาตรคณะพระธุดงค์จากประเทศไทย ที่เดินตามรอยบาทพระศาสดาสู่สังเวชนียสถาน ด้วยความปลาบปลื้มดีใจ.
ชาวอินเดียรอใส่บาตรคณะพระธุดงค์จากประเทศไทย ที่เดินตามรอยบาทพระศาสดาสู่สังเวชนียสถาน ด้วยความปลาบปลื้มดีใจ.

พระสงฆ์จะออกธุดงค์ด้วยการเดินเท้าเผยแผ่ธรรมะ เผยแผ่พระพุทธศาสนา สร้างความผูกพันระหว่างชาวอินเดีย เนปาลกับคณะสงฆ์ บนแผ่นดินพุทธภูมิ เป็นเวลา 3 เดือน 99 วัน ระยะทาง 2,235 กิโลเมตร

เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ ที่มาสมัครเข้าร่วมโครงการ 300 รูป เหลือ 120 รูป เข้าปฏิบัติธรรมถือเดินธุดงค์ และอบรมภาควิชาการ ที่ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ 34 วัน

ก่อนไปถือธุดงค์ต่อในแดนพุทธภูมิ อินเดีย เนปาล อีก 108 วัน

สำหรับพระธุดงค์ทั้ง 120 รูป จากแดนสุวรรณภูมิ ที่ออกเดินเท้าธุดงค์ไปทั่วทั้ง 4 สังเวชนียสถานบนแผ่นดินพุทธภูมิครั้งนี้ มี “พระประวัติ ปวตฺโต” จากวัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าคณะ

โดยเดินเท้าธุดงค์ไปปฏิบัติธรรม เจริญสมณธรรม ที่ วัดไทยพุทธคยา อินเดีย แดน ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ/พาราณสี เมืองสารนาถ แดนดินถิ่นแสดง ปฐมเทศนา/โกสัมพี/สังกัสสะ/สาวัตถีนคร แดนดินที่ทรงจำพรรษานานที่สุด

คณะพระธุดงค์จากประเทศไทย เดินธุดงค์ไปยังสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ภายในเมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย โดยเดินข้ามแม่น้ำเนรัญชรา บริเวณจุดที่น้ำแห้งไปยังบ้านนางสุชาดา.
คณะพระธุดงค์จากประเทศไทย เดินธุดงค์ไปยังสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ภายในเมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย โดยเดินข้ามแม่น้ำเนรัญชรา บริเวณจุดที่น้ำแห้งไปยังบ้านนางสุชาดา.

ต่อไปที่ กุสินารานคร แดนดินถิ่นที่ ปรินิพพาน/ ลุมพินี เนปาล แดนดินถิ่น ประสูติ/เสาอโศกคู่-เลาลียานันทกาสถูป-มหาสถูปเกสลียา-ไวสาลี-ปาวาลเจดีย์-ปัตตนะ-นาลันทา-ราชคฤห์-ถ้ำบา-ร่าบา และดงคสิริ

ขณะนี้พระธุดงค์ทั้ง 120 รูป อยู่ในระหว่างออกเดินเท้าธุดงค์อยู่ที่แดนพุทธภูมิ และวันที่ 25-27 มีนาคม 2563 จะกลับมาปฏิบัติธรรม เจริญสมณธรรม ที่ วัดไทยพุทธคยา อีกครั้ง ก่อนธุดงค์กลับประเทศไทย ในวันที่ 28 มีนาคม 2563

จากนั้นจะอยู่ปฏิบัติธรรมบนแผ่นดินสุวรรณภูมิอีกครั้งเป็นการปิดท้าย ที่ วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี จ.สมุทรปราการ ไปจนถึงวันที่ 4 เมษายน 2563 จึงสิ้นสุดโครงการ

ชาวอินเดียมาร่วมกราบอนุโมทนาบุญกับคณะพระธุดงค์จากประเทศไทย ตลอดเส้นทางตามรอยบาทพระศาสดาไปยังสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา.
ชาวอินเดียมาร่วมกราบอนุโมทนาบุญกับคณะพระธุดงค์จากประเทศไทย ตลอดเส้นทางตามรอยบาทพระศาสดาไปยังสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา.
คณะพระธุดงค์จากประเทศไทย เดินผ่านหมู่บ้านในชนบทถิ่นห่างไกล เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และให้พรแก่ชาวบ้านที่มาร่วมอนุโมทนาบุญ.
คณะพระธุดงค์จากประเทศไทย เดินผ่านหมู่บ้านในชนบทถิ่นห่างไกล เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และให้พรแก่ชาวบ้านที่มาร่วมอนุโมทนาบุญ.
“เจ้าโส” สุนัขแสนรู้ของวัดไทยพุทธคยา เดินตามคณะพระธุดงค์เช่นเคย.
“เจ้าโส” สุนัขแสนรู้ของวัดไทยพุทธคยา เดินตามคณะพระธุดงค์เช่นเคย.

ที่สุดน่าทึ่งและสุดน่ารัก เป็นที่ชื่นชมของผู้ได้พบเห็นระหว่างการออกธุดงค์ทุกครั้ง คือการมี “เจ้าโส” สุนัขแสนรู้จากวัดไทยพุทธคยา คอยเดินประกบดูแลพระธุดงค์อย่างใกล้ชิดตลอดทั้งเส้นทางเช่นทุกครั้ง

สำหรับชาวพุทธที่มีความประสงค์จะมีส่วนร่วมในโครงการนี้ ติดต่อได้ที่ พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์) LINE ID : phutawan980 กองงานเลขาฯ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ LINE ID : kusinara980 หรือที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาเจริญกรุง ชื่อบัญชี กองทุนครูพระธุดงค์พุทธภูมิ เลขที่บัญชี 018-3-80199-6

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.


เด่นชัย เด่นชัยประดิษฐ์