(ภาพจาก : ALMA (ESO/NAOJ/NRAO), Higuchi et al.)
จานฝุ่นก๊าซได้ก่อกำเนิดดาวเคราะห์อยู่รอบดาวฤกษ์อายุน้อย โดยอนุภาคฝุ่นจะรวมตัวกันเพื่อก่อตัวเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกหรือกลายเป็นแกนกลางของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่กว่า การรวบรวมก๊าซจำนวนมากจากจานฝุ่นก๊าซ ก็ก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์อย่างดาวพฤหัส ซึ่งตามทฤษฎีปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปก๊าซที่อยู่ในแผ่นจานจะถูกรวมเข้ากับดาวเคราะห์หรือถูกพัดพาไปโดยความดันรังสีจากดาวที่อยู่ใจกลาง ในที่สุดดาวฤกษ์ก็จะถูกล้อมรอบด้วยดาวเคราะห์และจานที่เต็มไปเศษฝุ่น นั่นหมายความว่ากระบวนการก่อตัวดาว เคราะห์ ใกล้จะเสร็จสิ้น
เมื่อเร็วๆ นี้ นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวแห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (Atacama Large Millimeter /submillimeter Array-ALMA) ในชิลี ค้นพบว่าดาวฤกษ์อายุน้อยชื่อว่า 49 Ceti มีอายุ 40 ล้านปี ถูกล้อมรอบด้วยมวลของก๊าซที่น่าอัศจรรย์ เมื่อใช้ทฤษฎีการก่อตัวดาวเคราะห์ศึกษาดาวดังกล่าว คาดการณ์ได้ว่าก๊าซน่าจะหายไปเมื่อดาวแก่ตัวลง นักดาราศาสตร์เผยว่าพบอะตอมของก๊าซคาร์บอนในซากจานฝุ่นก๊าซรอบดาวฤกษ์ 49 Ceti จากการใช้การสังเกตการณ์บนกล้องโทรทรรศน์ Atacama Submillimeter Telescope Experiment (ASTE) มากกว่า 100 ชั่วโมง
...
สิ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ประหลาดใจรองลงมา ก็คือพบว่าก๊าซคาร์บอนรอบดาวฤกษ์ 49 Ceti มีมากกว่า 10 เท่าของปริมาณที่เคยคาดไว้ จึงเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าดาวฤกษ์ 49 Ceti มีก๊าซจำนวนมากจน น่าแปลกใจ ส่วนต้นกำเนิดของก๊าซนั้นมีความเป็นไปได้ 2 ทางคือ อาจเป็น ก๊าซ ที่เหลือรอดจากกระบวนการสลายตัวในขั้นตอนสุดท้ายของการก่อตัวดาว เคราะห์ ส่วนอีกทางคือก๊าซถูกปล่อยออกมาจากการชนของวัตถุขนาดเล็ก เช่น ดาวหางนั่นเอง.