หนึ่งในการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ไดโนเสาร์ที่น่าสนใจในอาร์เจนตินา ก็คือฟอสซิลไดโนเสาร์กลุ่มเธอโรพอด (theropod) ความยาว 4 เมตร ถูกค้นพบในเดือน ก.พ. 2561 ที่รัฐรีอูเนกรูนักบรรพชีวินวิทยาตั้งชื่อไดโนเสาร์ตัวนี้ว่า ทราลกาซอรัสคูยี (Tralkasaurus cuyi) โดยคำว่า ทราลกาซอรัส (Tralkasaurus) นั้นในภาษาของชาวมาปูเช (mapuche) แปลว่า “กิ้งก่าฟ้าร้อง” (thunder lizard)

ล่าสุด หน่วยงานด้านเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติของมหาวิทยาลัยลามาทันซา ในอาร์เจนตินา รายงานว่าหลัง จากศึกษาวิเคราะห์ซากฟอสซิลของทราลกาซอรัส คูยี ที่ประกอบด้วยกะโหลก ฟัน ซี่โครง ส่วนหนึ่งของสะโพก และหาง ก็พบว่าสายพันธุ์นี้เป็นญาติอันห่างไกลของไดโนเสาร์ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ (Tyran-nosaurus rex) หรือ ที.เร็กซ์ โดยทราลกาซอรัส คูยี นั้นอาจเติบโตยาวได้ถึง 14 เมตร อย่างไรก็ตาม นักบรรพชีวินวิทยาระบุว่า ทราลกาซอรัส คูยี มีขนาดร่างกายเล็กกว่าสัตว์กินเนื้อชนิดอื่นๆ ในไดโนเสาร์วงศ์อเบลิซอริดส์ (Abelisaurids) ซึ่งอเบลิซอริดส์ชนิดอื่นๆ มักวัดความยาวได้ประมาณ 7-11 เมตร
...

นอกจากนี้ ทราลกาซอรัสอาจกินไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่กินพืชอย่าง อิกัวโนดอนต์ (Iguanodonts) ที่ถูกค้นพบในบริเวณใกล้เคียงกัน นักบรรพชีวินวิทยามองว่าการค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มไดโนเสาร์วงศ์อเบลิซอริดส์ เธอโรพอด ได้ครอบคลุมระบบนิเวศกว้างกว่าที่เคยคิด การค้นพบใหม่ดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการกำหนดพฤติกรรมทางนิเวศวิทยาของไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อได้.