นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ระหว่างการก่อตัวของดาวศุกร์ได้รับน้ำมากเท่ากับโลก แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็เกิดภัยพิบัติขึ้น เมฆก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทรงพลังที่สุดในระบบสุริยะ ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้นถึง 900 องศาฟาเรนไฮต์ หรือราว 482 องศาเซลเซียส ในกระบวนการนี้น้ำทั้งหมดของดาวศุกร์ระเหยกลายเป็นไอน้ำ และส่วนใหญ่ลอยออกไปในอวกาศ

แต่การระเหยในสมัยโบราณนั้นไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไมดาวศุกร์จึงแห้งแล้งรุนแรงและทำไมดาวศุกร์จึงสูญเสียน้ำออกสู่อวกาศไป ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ด้านดาวเคราะห์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ สหรัฐอเมริกา เผยการวิจัยดาวศุกร์ว่าร้อนจัดแห้งแล้งกันได้อย่างไร โดยแบบจำลองคอมพิวเตอร์ จนพบว่าอะตอมไฮโดรเจนในชั้นบรรยากาศของโลกพุ่งเข้าสู่อวกาศผ่านวิธี Dissociative recombination คือกระบวนการทางเคมีที่ไอออนที่มีหลายอะตอม บวกรวมตัวกับอิเล็กตรอนอีกครั้ง ทำให้โมเลกุลที่เป็นกลางแยกตัวออกจากกัน ปฏิกิริยานี้มีความสำคัญต่อเคมีระหว่างดวงดาว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เผยว่าบรรยากาศส่งผลให้ดาวศุกร์สูญเสียน้ำมากขึ้นประมาณ 2 เท่าในแต่ละวัน เมื่อเทียบกับการประเมิน ครั้งก่อน

ทั้งนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้มุ่งเป้าไปที่ดาวศุกร์ ซึ่งภารกิจ Deep Atmos phere Venus Investiga tion of Noble Gases, Chemistry and Imaging (DAVINCI) ที่องค์การนาซา สหรัฐฯ วางแผนไว้ จะสำรวจผ่านชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ไปจนถึงพื้นผิวดาว มีกำหนดปล่อยตัวภายในสิ้นทศวรรษนี้ และแบกความหวังว่าจะพบหลักฐานชิ้นสำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวของน้ำบนดาวศุกร์.

Credit : NASA/Jet Propulsion Laboratory-Caltech

...

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่