ดาวศุกร์ได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์พี่น้องที่อยู่ใกล้โลกที่สุด ทว่าดาวเพื่อบ้านของเราดวงนี้กลับเป็นไปในทิศทางตรง กันข้าม ปัจจุบันอุณหภูมิพื้นผิวของดาวศุกร์ร้อนพอที่จะละลายตะกั่วได้ เชื่อกันว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีเปลือกที่หยุดนิ่งตลอดเวลา นั่นหมายความว่าพื้นผิวของมันมีเพียงแผ่นเดียว และมีปริมาณการปล่อยก๊าซออกสู่ชั้นบรรยากาศน้อยที่สุด และการเคลื่อนที่ก็น้อย

เมื่อเร็วๆนี้ มีงานวิจัยจากทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ใช้ข้อมูลบรรยากาศจากดาวศุกร์และการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศในปัจจุบันของดาวเคราะห์และความดันพื้นผิว จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นผลมาจากแผ่นเปลือกดาว ซึ่งผลลัพธ์พบว่าดาวศุกร์อาจเคยมีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกดาวคล้ายกับที่เชื่อว่าเกิดขึ้นบนโลกยุคแรกๆ การค้นพบนี้ทำให้เกิดความคิดว่าอาจมีความเป็นไปได้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการบนดาวศุกร์ในอดีต นักวิจัยสรุปว่าดาวศุกร์ต้องมีแผ่นเปลือก โลกในช่วงหนึ่งหลัง จากที่ดาวเคราะห์ก่อตัวเมื่อช่วง 4,500 ล้านถึง 3,500 ล้านปีก่อน

อีกประเด็นสำคัญ ก็คือน่าจะมีดาวเคราะห์ 2 ดวงในเวลาเดียวกันในระบบสุริยะ ที่มีรูปแบบแปร สัณฐานเปลือกโลกแบบเดียวกัน สิ่งนี้ส่งเสริมความเป็นไปได้ของการมีชีวิตอยู่ของจุลินทรีย์ บนดาวศุกร์ยุคโบราณ และแสดงให้เห็นว่า ณ จุดหนึ่งดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน มีขนาดเท่ากัน มีมวล ความหนาแน่น และปริมาตรเท่ากัน มีความเหมือนกันมากกว่าที่คิดไว้ก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะแยกจากกัน.

Credit : NASA/JPL

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่

...