การเป็นสมาชิกดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วยกันของโลกและดาวอังคาร หากมองอีกแง่หนึ่งแล้วดาวอังคารก็ไม่ต่างไปจากโลก ตรงที่มีสภาพอากาศแตกต่างกันในพื้นที่ต่างๆบนดาว การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พัฒนาอย่างทรงประสิทธิภาพจึงสามารถ ช่วยให้เราเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละภูมิภาค
ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักวิทยาศาสตร์ ด้านดาวเคราะห์จากสถาบันการบินและอวกาศเนชันแนล ไฮเออร์ เฟรนช์ (National Higher French Institute of Aeronautics and Space) ในฝรั่งเศส และองค์การนาซา ของสหรัฐอเมริกา เผยว่า ยานหุ่นยนต์โรเวอร์เพอร์เซเวียแรนซ์ (Perse verance) ที่ส่งไปลงจอดสำรวจดาวอังคารนั้นมีการติดตั้งไมโครโฟนบนเสาของหุ่นยนต์ และไมโครโฟนตัวนี้ขณะนี้สามารถบันทึกเสียงการพัดของพายุฝุ่นบนดาวเคราะห์สีแดงได้ โดยจะอ่านค่าเป็นระยะๆ แม้จะไม่เร็วเท่าเสียง แต่เกือบ 100,000 ครั้งต่อวินาที ก็ช่วยให้นักวิจัยเข้าใจมากขึ้นว่าดาวอังคารเป็นอย่างไร
ทีมวิจัยเผยว่า ไมโครโฟนไม่ได้เปิดอย่างต่อเนื่อง แต่จะบันทึกข้อมูลราว 3 นาทีทุก 2-3 วัน ซึ่งการบันทึกเสียงพายุฝุ่นบนดาวอังคารได้นั้นนับเป็นเรื่องโชคดี แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องที่คาดไม่ถึงก็ตามในแอ่งเยเซโร ที่ซึ่งยานหุ่นยนต์ดังกล่าวลงจอด จริงๆแล้วทีมวิจัยระบุว่า ได้สังเกตหลักฐานของพายุฝุ่นเกือบ 100 ครั้ง ไม่ว่าจะระดับทอร์นาโดหรือพายุกรวดขนาดเล็กตั้งแต่ยานลงจอด แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ไมโครโฟนได้เปิดบันทึกเสียงของพายุฝุ่นที่พัดผ่านยานโรเวอร์ตัวนี้.