คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย พูด ‘นวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น’ ด้วยระบบออนไลน์ซูม รับใช้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ระดับชำนาญการพิเศษ 13.00-16.00 น. ศุกร์พรุ่งนี้ 10 มิถุนายน 2022

จีนและสหรัฐฯแย่งกันเป็นใหญ่ในอินโด-แปซิฟิก การจะเป็นใหญ่ในภูมิภาคนี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากประเทศสำคัญที่อยู่ในภูมิภาค ประเทศที่มีอิทธิพลมากที่สุดทางแถบนี้คืออินโดนีเซีย ประธานาธิบดีโจโกวี บาลานซ์ความสัมพันธ์ของ 2 มหาอำนาจด้วยการไปลงนามในบันทึกความเข้าใจในการร่วมมือทางทะเลกับสหรัฐฯ ข้อตกลงมีทั้งการแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันในการจัดความมั่นคงทางทะเล เศรษฐกิจในน่านน้ำ ทรัพยากรและการประมง การสร้างความปลอดภัยในระบบเดินเรือ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ

อินโดนีเซียฉลาดมากครับ แม้ว่าจะยกระดับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ แต่ประธานาธิบดีโจโกวีก็ไม่ได้ตามใจสหรัฐฯเหมือนกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ตอนที่สหรัฐฯส่งทหารอเมริกัน 2.5 หมื่นคนไปยังฐานทัพที่เมืองดาร์วินของออสเตรเลีย โจโกวีก็แสดงความไม่เห็นด้วย และพูดตรงไปตรงมาว่าอินโดนีเซียไม่สนับสนุนนโยบายสหรัฐฯในด้านการเพิ่มกองกำลังความมั่นคงในพื้นที่ทางทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิก

กับจีน อินโดนีเซียก็วางตัวได้ดี ตอนที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จะจัดตั้งเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 อินโดนีเซียยอมให้นายสีมาประกาศแนวคิดในการนำเส้นทางสายไหมมาปรับปรุงใน ค.ศ.2013 ต่อหน้าการประชุมรัฐสภาของอินโดนีเซียเป็นที่แรก นายโจโกวีเป็นประธานาธิบดีเป็นปีแรกเมื่อ ค.ศ.2015 แกไปเยือนจีนถึง 5 ครั้ง ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียและจีน โดยเน้นการเป็นหุ้นส่วนกันในน่านน้ำ และการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

...

นายโจโกวีสร้างนโยบายการทูตเชิงเศรษฐกิจกับจีน มีความร่วมมือทางน่านน้ำ มีการลงนามและแถลงการณ์ร่วมเพื่อผลักดันการทำงานร่วมกัน ภายใต้นโยบายน่านน้ำสายไหมของจีน และนโยบายยุทธศาสตร์ศูนย์กลางในน่านน้ำของโลกของอินโดนีเซีย จีนลงทุนในอินโดนีเซียมากที่สุด และเป็นประเทศคู่ค้าของอินโดนีเซียที่มีขนาดใหญ่สุดอีกด้วย บางปีจีนลงทุนในอินโดนีเซียมากถึง 3,000 โครงการ อินโดนีเซียได้สตางค์จำนวนมากจากการส่งออกทรัพยากรไปขายที่จีน ส่วนจีนก็ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากมาที่อินโดนีเซีย

พอคนจีนเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียมากขึ้นเรื่อยๆ คนอินโดนีเซียส่วนหนึ่งก็ต่อต้านชาวจีน มองว่าคนจีนเข้ามาหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากอินโดนีเซีย มีกลุ่มที่ออกมาต่อต้านเรื่องคนจีนแย่งงานและรายได้ของชาวอินโดนีเซีย บริษัทจีนที่มาลงทุนมักจะนำแรงงานและอุปกรณ์จากจีนเข้ามาใช้เอง ทำให้หลายโครงการคนอินโดนีเซียไม่ได้อะไร มีการไหลเข้ามาของแรงงานจีนในอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก เฉพาะใน ค.ศ.2018 คนจีนเข้ามาทำงานในอินโดนีเซียมากถึง 3 ล้านคน เรื่องนี้

คนอินโดนีเซียจำนวนไม่น้อยรู้สึกไม่แฟร์ เพราะงานเหล่านี้แรงงานอินโดนีเซียก็ทำได้ แต่ทำไมไม่จ้างคนอินโดนีเซียไม่พอใจที่แรงงานจีนเข้ามาทำงานในโครงการที่จีนเข้ามาลงทุน เมื่อหมดโปรเจกต์แล้ว คนจีนเหล่านั้นก็ไม่ยอมกลับ แต่กลับตั้งรกรากในอินโดนีเซีย ย่อหน้าข้างบน ผมรับใช้ถึงความร่วมมือของอินโดนีเซียกับสหรัฐฯ แต่อินโดนีเซียไม่ได้สนับสนุนสหรัฐฯทุกอย่าง กับจีนก็เหมือนกันครับ อินโดนีเซียกับจีนพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีและมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่อกันเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลอินโดนีเซียก็ยอมให้มีคนอินโดนีเซียกลุ่มหนึ่งออกมาต่อต้านจีนเรื่องพื้นที่ทับซ้อนของหมู่เกาะนาทูนาในน่านน้ำทะเลจีนใต้

จีนเองแม้จะส่งคนเข้ามาในอินโดนีเซียปีละเป็นล้านคน แต่ก็ไม่ยอมอินโดนีเซียในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ และก็ไม่ยอมแก้ไขอะไรให้เป็นรูปธรรม รัฐบาลจีนอ้างว่าพื้นที่ทับซ้อนเป็นแนวการทำประมงดั้งเดิมของจีน พวกรัฐมนตรีอินโดนีเซียก็ออกมาซัดจีนว่าละเมิดอำนาจอธิปไตยของอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียศึกษาความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จีนกับญี่ปุ่น และจีนกับอินเดีย อย่างละเอียดลึกซึ้ง และใช้ข้อมูลที่ตัวเองศึกษาอย่างละเอียดนี้ มาใช้ต่อรองกับจีน เรื่องการเจรจาต่อรองระหว่างประเทศของอินโดนีเซียในยุคของโจโกวีน่าสนใจมากครับ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบาลานซ์พาวเวอร์.

นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
songlok1997@gmail.com