วารสาร “จากญี่ปุ่น” ของสถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย บอกเล่าถึงศิลปะของช่วงฤดูใบไม้ผลิ ผืนน้ำในท้องนาสะท้อนสีครามบนท้องฟ้าราวกับกระจก หลังการเพาะปลูก ท้องนาปกคลุมไปด้วยต้นข้าวสีเขียวขจีในฤดูร้อน พอเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ก่อนฤดูเก็บเกี่ยว ท้องนากลายเป็นสีทองอร่าม รวงข้าวก้มโค้งลงสู่พื้นดิน เพราะอุดมไปด้วยเมล็ดข้าว
เมื่อไม่นานมานี้ ท้องนาได้กลายเป็นผืนผ้าใบ และใช้ต้นข้าวที่มีสีสันแตกต่างกันออกไปในการแต่งแต้มให้เกิดภาพ จนกลายเป็น “ศิลปะบนท้องนา” ทั่วประเทศ
ศิลปะบนท้องนา ถือกำเนิดขึ้นในหมู่บ้านอินากาดาเทะ จังหวัดอาโอโมริ สำหรับหมู่บ้านนี้อยู่บริเวณใจกลางของที่ราบสึงารุ ซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดในช่วงฤดูหนาว นอกจากนี้ในปี ค.ศ.1981 ยังถูกค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเพาะปลูกข้าวเมื่อราว 2,100 ปีก่อน และเป็นพื้นที่สำคัญการปลูกข้าว เพราะมีผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่สามารถสร้างผลผลิตข้าวได้เป็นจำนวนมากที่สุดต่อพื้นที่ในการเพาะปลูกของประเทศ
ด้วยประวัติศาสตร์ในการเพาะปลูกอันยาวนาน หมู่บ้านอินากาดาเทะ จึงกลายเป็นห้องเรียนสำหรับการเรียนรู้เรื่องการเพาะปลูกข้าวสำหรับเด็กนักเรียนประถมศึกษาที่จะได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์การปลูกข้าวบนผืนดินกันนี้ที่ใช้ปลูกข้าวมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ข้าวในสมัยโบราณนั้นมีความแตกต่างไปจากข้าวที่เพาะปลูกได้ของประเทศในปัจจุบัน ด้วยใบของต้นข้าวนั้นมีสีม่วงและสีเหลือง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิด “นำสีสันที่แตกต่างกันมาสร้างเป็นตัวอักษรและภาพ” และได้จัดนิทรรศการศิลปะบนท้องนาครั้งแรกในปี ค.ศ.1993
ช่วงเวลาในการชมศิลปะบนท้องนาของหมู่บ้านอินากาดาเทะ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ไปจนถึงเดือนสิงหาคม เมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จากนั้นเมื่อต้นข้าวออกรวงและสีสันเริ่มเปลี่ยนแปลง ภาพวาดที่สร้างสรรค์ขึ้นบนท้องนาก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป...
...