Credit : Lachlan Hart

ยุคโลกล้านปีที่เต็มไปด้วยไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ทั้งชนิดกินพืชและกินเนื้อ ซึ่งกลุ่มที่กินเนื้อก็มักจะเป็นที่น่าเกรงขามในฐานะนักล่า ส่วนผู้ถูกล่าก็ต้องพยายามหลบเลี่ยงเอาชีวิตรอด ทว่าในยุคดึกดำบรรพ์ก็ยังมีสัตว์ที่น่ากลัวไม่แพ้ไดโนเสาร์ที่ชมชอบการฉีกทึ้งเหยื่อกิน นั่นคือกลุ่มจระเข้โบราณที่อยู่ร่วมยุคกัน

เมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ในเมืองอาร์มิเดล ประเทศออสเตรเลีย เผยการค้นพบจระเข้โบราณสายพันธุ์ใหม่จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ที่ขุดพบในเมืองไลท์นิง ริดจ์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย เมื่อกว่า 70 ปีก่อน จระเข้โบราณนี้มีชื่อว่า Isisfordia molnari เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษโดยตรงที่เก่าแก่ที่สุดของจระเข้ยุคปัจจุบัน ตั้งชื่อตามราล์ฟ โมลนาร์ นักบรรพชีวินวิทยาที่มีคุณูปการต่อวงการวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับฟอสซิลจระเข้

Credit : University of New England
Credit : University of New England

...

นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า จระเข้ Isisfordia molnari มีความยาว 1.5-2 เมตร เชื่อกันว่าเป็นนักล่าที่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนจระเข้ยุคสมัย โดยเหยื่ออันโอชะของมันอาจรวมถึงไดโนเสาร์ขนาดเล็ก เช่น วีวาร์ราซอรัส (Weewarrasaurus) ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กอยู่ในกลุ่มออร์นิโธพอด (Ornithopods) นั่นเอง.