การ์ทเนอร์ประเมิน องค์กรเสี่ยงเสีย Talent หากไม่สื่อสารให้ชัดเจนเรื่องใช้ GenAI แทนที่ตำแหน่งงาน

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

การ์ทเนอร์ประเมิน องค์กรเสี่ยงเสีย Talent หากไม่สื่อสารให้ชัดเจนเรื่องใช้ GenAI แทนที่ตำแหน่งงาน

Date Time: 4 ม.ค. 2567 18:05 น.

Video

บัญชีม้า เกลื่อนเมือง คนไทยอยู่อย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ ? | Money Issue

Summary

  • การ์ทเนอร์คาดการณ์ผลกระทบของ Generative AI ที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้นำและผู้บริหารองค์กร พร้อมเสนอกลยุทธ์สำหรับองค์กร เพื่อให้พร้อมปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

การ์ทเนอร์คาดการณ์แนวโน้มองค์กรผ่านการสำรวจผลกระทบของ Generative AI ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแนวคิดของบรรดาผู้นำและผู้บริหาร พร้อมเสนอกลยุทธ์การสร้างองค์กรที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ เพื่อรับมือกับอนาคต

เริ่มต้นจากแนวโน้มปี 2570 ที่มูลค่าและประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ผลงานจาก AI จะถูกยอมรับว่าเป็นปัจจัยบ่งชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลหลายประเทศจะมีความมุ่งมั่นและจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์และแผนงานด้าน AI โดยยอมรับว่า AI ได้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักของภาครัฐและภาคเอกชน 

แดริล พลัมเมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า การนำ AI มาไว้ในแผนพัฒนาระดับชาติ จะทำให้ AI มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และกลายเป็นตัวเร่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล และการนำ AI มาใช้ในโครงการขนาดใหญ่ให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลายภาคส่วน 

นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Chief Information Security Officers หรือ CISO) ประมาณ 45% จะเพิ่มขอบเขตการทำงานนอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากแรงกดดันด้านกฎระเบียบและการขยายพื้นที่การโจมตีที่เพิ่มมากขึ้น

และภายในปี 2571 องค์กรธุรกิจจะใช้เงินมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 1.03 ล้านล้านบาท) ไปกับการรับมือภัยคุกคามที่จะกระทบกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ การตลาดและ AI ในองค์กร ซึ่งองค์กรที่เฝ้าระวังและติดตามหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงผู้ให้บริการเครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับข้อมูลอันตรายนั้น มีแนวโน้มที่จะได้เปรียบคู่แข่ง

ขณะที่อัตราการทำงานในรูปแบบสหภาพของพนักงานที่มีทักษะจะเพิ่มขึ้น 1,000% โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการนำ GenAI มาปรับใช้ในการทำงานที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มักบอกว่า AI เป็นเหตุให้ต้องปรับลดตำแหน่งงาน 

ดังนั้นการสื่อสารที่ชัดเจนของผู้บริหารถึงการปรับใช้ AI ในองค์กร เพื่อหลีกเลี่ยงความกังวลของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยองค์กรที่ใช้ GenAI และไม่วางแผนจัดการกับความกังวลด้าน AI อย่างชัดเจนกับพนักงานที่มีทักษะ จะต้องเผชิญกับอัตราการลาออกเพิ่มสูงขึ้น 20% 

พลัมเมอร์ ระบุว่า องค์กรควรให้ความสำคัญกับความพยายามในการนำ AI มาเสริมประสิทธิภาพและคุณภาพการทำงานของพนักงาน มากกว่านำมาใช้เป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งผู้บริหารต้องเข้าใจความสามารถและขีดจำกัดของเทคโนโลยี เนื่องจากยังมีการกล่าวอ้างประสิทธิภาพ AI ที่เกินจริง

นอกจากนี้ในปี 2571 ในสายการผลิต ค้าปลีก และโลจิสติกส์ จะมีหุ่นยนต์อัจฉริยะมากกว่ามนุษย์ในการทำงาน เนื่องจากภาวะการขาดแคลนแรงงาน ทำให้ในทศวรรษหน้า องค์กรด้านซัพพลายเชนจะประสบปัญหาในการสรรหาพนักงาน ซึ่งหุ่นยนต์จะมาช่วยเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวนี้ 

และจากการสำรวจของการ์ทเนอร์ในเดือนธันวาคม 2565 พบว่า 96% ของผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีซัพพลายเชน ได้ปรับใช้หรือวางแผนที่จะปรับใช้ระบบอัตโนมัติทางกายภาพไซเบอร์ หรือ Cyber-Physical Automation และ 35% ได้นำหุ่นยนต์มาใช้งานแล้ว ขณะที่อีก 61% ยังอยู่ในขั้นทดลอง หรืออยู่ระหว่างการใช้งานหุ่นยนต์เป็นครั้งแรก


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์