รู้จัก Emergency Alert ระบบเตือนภัย ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ต่างประเทศใช้มานาน แต่ไทยเพิ่งกำลังจะมี

Tech & Innovation

Digital Transformation

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

รู้จัก Emergency Alert ระบบเตือนภัย ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ที่ต่างประเทศใช้มานาน แต่ไทยเพิ่งกำลังจะมี

Date Time: 5 ต.ค. 2566 19:39 น.

Video

วิธีเอาตัวรอดของ Wikipedia ไม่พึ่งโฆษณา ไม่มีค่าสมาชิก แต่อยู่มาได้ 23 ปี | Digital Frontiers

Summary

  • ต้องให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอีกสักกี่ครั้ง ประเทศไทยถึงจะทำ Emergency Alert ระบบเตือนภัย ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ประชาชนไม่ต้องตามข่าวจากแอปฯ โซเซียล หรือรู้จากคนรอบข้าง คำถามนี้ ได้เกิดขึ้นอย่างหนาหูอีกครั้ง หลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้นในห้างดังที่ผ่านมา ว่าต่างประเทศเขามีกันหมด แต่ประเทศไทย ล่าสุดทางรัฐบาลเพิ่งมีการประกาศว่า สามารถทำได้ทันที หลังได้พุดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเเล้ว

Emergency Alert ระบบเตือนภัย ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ถูกพูดถึงอย่างหนาหูอีกครั้ง จากเหตุการณ์สุดสะเทือนใจที่เกิดขึ้นในห้างดังเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่ได้กลับมาเป็นสิ่งย้ำเตือนอีกครั้งว่าการเตือนภัยจากภาครัฐเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ และช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

ขณะเดียวกันในบางประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มจะเป็นเป็นอันตรายต่อผู้คน Emergency Alert จะมีข้อความแจ้งเตือนเด้งขึ้นในโทรศัพท์ทันที อย่างในประเทศที่มักมีเหตุการณ์ฉุกเฉินในเรื่องของภัยพิบัติอย่างญี่ปุ่น ก็มีระบบ “J-Alert” ที่มีการเริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2007 และปัจจุบันสามารถแจ้งเตือนได้ทั้งประเทศตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด การก่อการร้าย และการโจมตีทางอากาศ เป็นต้น

และในสหรัฐฯ เอง ในวันนี้ได้มีรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศว่ามีการทดสอบระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินทั่วทั้งประเทศ จากรัฐบาลกลาง ผ่าน “Alert System (EAS)” ซึ่งเป็นระบบเตือนภัยทางวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อให้ประธานาธิบดีสื่อสารกับประชาชน และ “Wireless Emergency Alerts (WEAs)” ข้อความเตือนภัยสั้นๆ ที่ส่งเข้ามือถือประชาชนเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย

ขณะที่ทางรัฐบาลของสหราชอาณาจักรก็มี “Emergency Alerts” ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตของประชาชนยามเกิดเหตุฉุกเฉิน พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวให้ไม่ตกอยู่ในอันตราย โดยจะเป็นเสียงไซเรนและสั่นเป็นเวลา 10 วินาที พร้อมกับข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของทางรัฐบาลสำหรับเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับเกาหลีใต้นั้นมีระบบแจ้งเตือนทางมือถือที่หลายคนอาจเคยเห็นผ่านตาในซีรีส์บางเรื่อง โดยจะเป็นระบบเตือนภัย “Emergency Alert System” ที่มีสัญญาณเตือนการโจมตีทางอากาศ รวมถึงสัญญาณเตือนภัยสารเคมี ชีวภาพ และรังสี เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ยังคงอยู่ในสถานะสงครามกับเกาหลีเหนือ จึงต้องมีการแจ้งเตือนประชาชนเพื่อให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ

นอกจากนี้ ในประเทศอื่นๆ อย่างออสเตรเลียก็มีระบบ “Emergency Alert” เพื่อส่งข้อความเสียงเข้าโทรศัพท์บ้าน และส่งข้อความเข้าโทรศัพท์มือถือให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตการณณ์ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับอินเดียที่เพิ่งส่งข้อความทดสอบระบบเตือนภัยไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา

แน่นอนว่า การทำระบบดังกล่าว เมื่อเทียบกับที่รัฐบาลประเทศอื่นทำให้กับประชาชนอาจไม่ได้มีความซับซ้อนในการแจ้งเตือนมากมาย แต่ประเทศไทยเพิ่งจะมีการพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยความคืบหน้าของระบบเตือนภัยในไทยเอง ล่าสุด นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการจัดทำระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินผ่านข้อความว่า หลังจากนายกรัฐมนตรีสั่งการให้เร่งดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วน ทางกระทรวงฯ ได้ดำเนินการทำ Emergency Mobile Alert ซึ่งช่วงเช้าวันนี้ได้มีการทดลองใช้ในบริเวณทำเนียบรัฐบาลก่อน

โดยทางเอไอเอสและทรูได้ทดสอบระบบ Location Base Service (LBS) เข้าสู่ระบบแล้ว ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งภัยพิบัติ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความ สามารถดำเนินการได้ทันทีในพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุได้ตั้งแต่วันนี้

สำหรับระบบเตือนภัยจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก LBS จะเป็นการแจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอส แต่จะใช้เวลาประมวลผลนาน แต่เป็นการแจ้งเตือนเบื้องต้นที่ไวที่สุด

และระยะที่สอง เซลล์ บรอดแคสต์ ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ว่ามือถือเครื่องไหนผ่านบริเวณที่เกิดเหตุ ก็จะสามารถส่งข้อความเข้ามือถือได้ทันที โดยทางประธาน กสทช. จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมเพื่อขออนุมัติโครงการ และใช้เวลาพัฒนาไม่เกิน 1 ปี อย่างเร็วที่สุดภายใน 6 เดือน ซึ่งจะทำให้สามารถส่งข้อความเตือนได้เป็นล้านข้อความภายในเวลา 10 วินาที

ส่วนการทำเซลล์ บรอดแคสต์ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ซึ่งหากดำเนินการทำเซลล์ บรอดแคสต์ได้ จะเป็นระบบเตือนภัยที่มีความเสถียร และสามารถแจ้งเตือนประชาชนครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนได้ประสานงานไปยัง กสทช. และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 2 ค่ายแล้ว ส่วนเรื่องคอมมานด์ เซ็นเตอร์ เราจะเร่งรับเพื่อดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งศูนย์นี้ต่อไป


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ