Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
ปลดหนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยบาน จ่ายไม่ไหว ทำอย่างไร ให้ปิดหนี้เร็วที่สุด

Personal Finance

Wealth Management

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ปลดหนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยบาน จ่ายไม่ไหว ทำอย่างไร ให้ปิดหนี้เร็วที่สุด

Date Time: 20 ธ.ค. 2566 12:05 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • คนไทยมีแนวโน้มเป็นหนี้บัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนวัยรุ่นและวัยทำงาน ข้อมูลล่าสุดพบว่า 2 ใน 3 ของบัญชีหนี้ครัวเรือนทั้งหมดของไทย เป็นสินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้ โดยหนี้บัตรเครดิตมีสัดส่วนถึง 29% Thairath Money รวบรวมวิธีปลดหนี้บัตรเครดิต สำหรับคนที่ผ่อนจ่ายไม่ไหว จ่ายอย่างไร ให้หนี้หมดไวที่สุด

บัตรเครดิตถือเป็นผู้ช่วยทางการเงิน ที่นอกจากจะทำให้เราใช้จ่ายคล่องตัวขึ้น สามารถผ่อนซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงได้ แล้วยังมีสิทธิประโยชน์ให้ลุ้นอีกมากมาย แต่ความสะดวกสบายก็อาจทำให้หลายคนเผลอใจ ขาดวินัยทางการเงินจนใช้จ่าย “เกินตัว” และติดกับดัก “จ่ายขั้นต่ำ” มารู้สึกตัวอีกที ก็กลายเป็นหนี้บัตรเครดิตก้อนโตเสียจนผ่อนจ่ายไม่ไหว

Thairath Money รวบรวมวิธีปลดหนี้บัตรเครดิต สำหรับคนที่ผ่อนจ่ายไม่ไหว จ่ายอย่างไร ให้หนี้หมดไวที่สุด 

กรณียังไม่เป็นหนี้เสีย

หนี้ที่ค้างชำระกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ไม่เกิน 90 วัน 


4 วิธีแก้หนี้บัตรเครดิต ให้หมดไว


1. หยุดใช้บัตรเครดิต

เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มจ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหว และไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้จ่ายได้ สิ่งแรกที่ควรทำคือยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น หยุดหรือปิดการใช้งานบัตรเครดิตทันที เพื่อไม่ให้มีการก่อหนี้เพิ่ม หลังจากนั้นตั้งสติ ประเมินสถานการณ์รายได้และรายจ่ายของตัวเอง วางแผนการเงินใหม่ว่าต้องลดรายจ่าย เพิ่มรายได้อย่างไร เพื่อให้มีเงินเหลือมาชำระหนี้ แล้วค่อยพิจารณาความคุ้มค่าของวิธีปรับโครงสร้างหนี้


2. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว

หากติดหนี้บัตรเครดิตหลายใบ การรวมหนี้เป็นก้อนเดียวด้วยการรีไฟแนนซ์ จะช่วยลดดอกเบี้ย ลดภาระการผ่อนต่อเดือน ทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องหมุนเงินได้มากขึ้น โดยการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเป็นการรวมหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดจากหลายๆ แหล่ง นำไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินหรือธนาคารใหม่ เพื่อจ่ายปิดหนี้บัตรเครดิตเก่า ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง และระยะเวลาการผ่อนจ่ายที่นานขึ้น

3. ขอปรับโครงสร้างหนี้

เจรจากับธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อหาทางออกในการชำระหนี้ร่วมกัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรการและเงื่อนไขที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนด โดยเจ้าหนี้อาจพิจารณาลดดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น ขยายเวลาชำระหนี้ ฯลฯ เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน เพื่อให้ลูกหนี้ได้มีเวลาปรับตัว หาเงินมาชำระหนี้ 

4. ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย

วางแผนการเงิน หยุดใช้จ่ายเกินตัว คำนวณค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน และดูยอดเงินคงเหลือที่สามารถจ่ายบัตรเครดิตไหว จากนั้นรีบปิดหนี้ให้เร็วที่สุด ด้วยการจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินกำหนด เพื่อลดเงินต้นและดอกเบี้ย


กรณีเป็นหนี้เสียแล้ว


หนี้ที่ค้างชำระกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา นานติดต่อกันมากกว่า 90 วันขึ้นไป จะถือว่าเป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) หรือเรียกง่ายๆ ว่า “หนี้เสีย”


เข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้

หากค้างชำระหนี้บัตรเครดิตจนกลายเป็นหนี้เสีย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการยึดทรัพย์ และเสียเครดิตการกู้ยืมในอนาคต เนื่องจากข้อมูลการผิดนัดชำระหนี้จะถูกบันทึกลงในประวัติการเงินโดยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือที่ทุกคนคุ้นชื่อกันว่า เครดิตบูโร 


การเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (บสส.) หรือ SAM ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่เข้ามาแก้ไขปัญหา ปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แทนเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบการทางการเงินทุกราย เพื่อให้ลูกหนี้สามารถปลดหนี้ได้ รวมถึงให้ความรู้ในการวางแผนการเงิน เพื่อไม่ให้กลับไปเป็นหนี้อีก


โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยในอัตราผ่อนปรน 3-5% ต่อปี และผ่อนชำระได้ไม่เกิน 10 ปี


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์