ผู้บริโภค ร้องเรียนพุ่งเกือบ 40% ห่วง!คนไทยแยกภาพจริง กับ AI ไม่ออก! โฆษณาสินค้า-บริการ ปลอมระบาด

Personal Finance

Financial Planning

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผู้บริโภค ร้องเรียนพุ่งเกือบ 40% ห่วง!คนไทยแยกภาพจริง กับ AI ไม่ออก! โฆษณาสินค้า-บริการ ปลอมระบาด

Date Time: 10 มิ.ย. 2568 16:09 น.

Video

ถอดรหัส TISA บัญชีออมหุ้นลดหย่อนภาษี | Money Issue EP.38

Summary

  • สภาพัฒน์ฯ เผย ผู้บริโภคร้องเรียน ผ่าน สคบ.พุ่งเกือบ 40% ห่วงคนไทยแยกภาพจริง กับ AI ไม่ออก!
  • โฆษณาสินค้า-บริการ ปลอมระบาด จองที่พักกลับเจอ “มิจฉาชีพ” จ่ายเงินทิ้งไม่รู้ตัว ขณะค่าบริการโรงพยาบาลเอกชนที่แพงเกินจริง สร้างความไม่เป็นธรรม พบบางแห่งยาฆ่าเชื้อสูงกว่าราคาตลาดถึง 64.5 เท่า

Latest


สภาพัฒน์ฯ รายงาน ภาวะสังคมไทย ไตรมาส 1 ปี 2568 พบปัญหาการร้องเรียนสินค้าและบริการของคนไทย เพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล และกระทบกับ “เงินในกระเป๋า” เราอย่างไม่รู้ตัว สะท้อน "ความไม่ไว้วางใจ" ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

โดยเพียง 3 เดือนแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปี 2568 การรับเรื่องร้องเรียนสินค้าและบริการ ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  มีจำนวนถึง 8,052 เรื่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 39.2%  

ทั้งนี้ ประเภทสินค้าและบริการที่ได้รับร้องเรียนสูงสุด กระจุกตัว อยู่ในกลุ่ม สินค้าออนไลน์ 3,468 เรื่อง ส่วนใหญ่มาจากการขอคืนสินค้าและการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากร้านค้า 

3 ปัญหาผู้บริโภค ร้องเรียน ที่ต้องเฝ้าระวัง  

1.การใช้ AI ในการสร้างรูปภาพเพื่อการโฆษณาสินค้าหรือบริการ โดยพบว่า ในปี 2567 องค์กรต่าง ๆ มีการใช้ AI ในการสร้างรูปภาพเพื่อการโฆษณามากถึง 52% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 1.4 เท่าตัว

เช่น แอปพลิเคชันเดลิเวอรี่มีการอนุญาตให้ร้านค้าใช้ภาพ AI โฆษณาแทนภาพเมนูอาหารจริงได้ นอกจากนี้ ร้านค้าออนไลน์บางแห่งมีการสร้างภาพโปรโมทโดยใช้บุคคลมีชื่อเสียง/บุคลากรเฉพาะด้านในสาขาต่าง ๆ 

ซึ่งอาจเป็นการโฆษณาเท็จ/เกินจริง หรือ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนอาจสร้างความสับสนหรือเข้าใจผิดให้แก่ผู้บริโภคได้ ซึ่งกว่า 67%ของผู้บริโภคแยกภาพจริงหรือภาพที่สร้างโดย AI ได้ยาก 

โดยประมาณ 20% ไม่สามารถแยกแยะได้เลย ส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้ง่ายขึ้นอีกด้วย จึงอาจจำเป็นต้องมีมาตรการกำกับควบคุมอย่างจริงจัง เช่น การกำหนดมาตรฐาน/แนวปฏิบัติสำหรับการใช้ AI ในการผลิตสื่อโฆษณา การตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดควบคู่กับการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง 

เหมือนประเทศจีน ที่เตรียมบังคับใช้ มาตรการระบุเนื้อหาที่สร้างด้วย AI โดยผู้ให้บริการข้อมูลออนไลน์ ต้องมีป้ายกำกับเนื้อหาทุกชนิดที่สร้างจาก AI ตั้งแต่ 1 กันยายน 2568 

2.เพจจองที่พักปลอมระบาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยข้อมูลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปี 2568 พบว่า หนึ่งในกลโกงของโจรออนไลน์ในช่วงสงกรานต์ คือ การหลอกจองที่พัก ซึ่งมักมีการใช้กลยุทธ์การหลอกลวงที่มีความแนบเนียนและน่าเชื่อถือ ส่งผลให้มีประชาชนตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก


กลโกงหลอกจองที่พัก

  • การสร้างเว็บไซต์หรือเพจที่พักปลอมที่ทำเหมือนของจริง โดยนำข้อมูลภาพถ่าย และคลิปวิดีโอของเพจจริงไปใช้เลียนแบบ ซึ่งบางเพจปลอมมีการกดถูกใจและผู้ติดตามสูงกว่าเพจที่พักจริง
  • การเสนอโปรโมชันที่ราคาถูกเกินจริง ตลอดจนการให้โอนมัดจำล่วงหน้า เพียงครึ่งเดียวเพื่อสร้างความไว้ใจแล้วปิดช่องทางหรือบล็อกการติดต่อ
  • การรีวิวที่ดูน่าเชื่อถือ พร้อมการยิงโฆษณาเพื่อเพิ่มการเข้าถึง
  • การแอบอ้างหลอกส่ง OTP เพื่อดูดเงินผ่านบัตรเครดิต

ดังนั้น เพื่อป้องกันและลดความเสียหาย อาจจำเป็นต้องมีการร่วมมือกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียตรวจสอบ/สกัดกั้นเพจปลอม ขณะเดียวกันประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังในการจองที่พักออนไลน์ โดยเลือกจองที่พักผ่านช่องทางที่เป็นทางการหรือผู้ให้บริการออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ อาทิ Booking.com Agoda และ หลีกเลี่ยงการโอนเงินเข้าบัญชีบุคคลโดยตรง ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ checkgon.go.th หรือ blacklistseller.com

3.ปัญหาค่าบริการโรงพยาบาลเอกชนแพงเกินจริง สภาพัฒน์ฯ รายงานว่า จากข้อมูลของสภาองค์กรของผู้บริโภค ในปี 2568 พบตัวอย่างราคาเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลเอกชนที่สูงเกินจริง เช่น 

  • ค่าน้ำเกลือขนาด 1,000 มิลลิลิตร ที่ราคาในท้องตลาดอยู่ที่ 45 บาท แต่โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งคิดราคาสูงถึง919 บาท สูงกว่าราคาตลาดถึง 20.4 เท่า 
  • โรงพยาบาลบางแห่งคิดค่ายาฆ่าเชื้อขนาด250 มิลลิกรัม สูงกว่าราคาเฉลี่ยในท้องตลาดถึง 64.5 เท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2568) 

สถานการณ์ข้างต้น สะท้อนถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องแบกรับอย่างไม่เหมาะสม จึงควรมีการทบทวนมาตรการกำกับดูแลค่ารักษาพยาบาลที่แพงเกินจริง ตลอดจนมีการกำหนดกรอบราคากลางที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค 

อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ