คิดช้า ใช้จ่ายไว หมดไฟทำงานกว่าเดิม ชีวิต-เงิน-สมอง จะรอดอย่างไร?ในยุคข้อมูลท่วมโลก

Personal Finance

Financial Planning

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คิดช้า ใช้จ่ายไว หมดไฟทำงานกว่าเดิม ชีวิต-เงิน-สมอง จะรอดอย่างไร?ในยุคข้อมูลท่วมโลก

Date Time: 22 พ.ค. 2568 15:03 น.

Video

เกิดอะไรขึ้นกับ Clubhouse เคยมีทั้งเงินทุน ทั้งกระแส แต่ทำไมไปไม่ถึงไหน ? | Digital Frontiers EP.37

Summary

  • ยุคดิจิทัล “คอนเทนต์ล้นโลก” ชีวิต-เงิน-สมอง จะรอดอย่างไร? เมื่อ ข้อมูลมหาศาลอยู่รอบตัวมากเกินไป คิดช้า ใช้จ่ายไว หมดไฟทำงานกว่าเดิม

Latest


ในยุคที่ “ข้อมูล” ทะลักล้นทุกวินาที เราอาจกำลังเข้าใจผิดว่าการมีข้อมูลเยอะคือ “ข้อได้เปรียบ” แต่แท้จริงแล้ว หากข้อมูลมากเกินไป สมองมนุษย์ก็อาจจัดการไม่ไหวจนกลายเป็นภาระ ยิ่งต้องตัดสินใจไวในโลกที่หมุนเร็ว ยิ่งเสี่ยง “คิดช้า ใช้จ่ายไว” และ “หมดไฟ” ได้มากกว่าที่คิด

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของ Information Overload หรือ “ภาวะข้อมูลล้น” ไม่ใช่แค่เรื่องสมาธิหรืออารมณ์ แต่ยังส่งผลลึกถึงการเงิน การงาน และคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่มีข้อมูลมากมาย ทั้งจริงและเท็จ ปนเปกันเต็มฟีด แถมไหลเข้ามาทุกวินาทีแบบไม่มีปุ่มพัก 

Thairath Money เจาะข้อมูลจาก OKMD (สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้) ซึ่งสรุปไว้ว่า ภาวะข้อมูลล้นในแต่ละวันอาจทำให้เราคิดช้าลง ตัดสินใจพลาด สมองเหนื่อยล้า เครียดสะสม เบิร์นเอาต์ง่าย และที่สำคัญ คือ พฤติกรรมทางการเงินแย่ลงโดยไม่รู้ตัว เช่น การใช้จ่ายเพื่อระบายอารมณ์ ตัดสินใจลงทุนจากข้อมูลไม่ครบ หรือทำงานไปวัน ๆ เพราะไม่ไหวจะประมวลอะไรอีกแล้ว

เป็นที่มา ที่ต้องเร่งหาคำตอบ ว่าแล้วเราจะเอาตัวรอดอย่างไร?ในยุคนี้ ซึ่ง OKMD แนะนำวิธีรับมือกับข้อมูลล้น เพื่อฟื้น “สมอง เงิน และชีวิต” ให้กลับมามีสมดุลอีกครั้ง ใน 10 ข้อ ดังนี้ 

10 วิธีจัดการกับข้อมูลล้นแบบทันยุค เพื่อชีวิต-เงิน-สมอง ที่ดีขึ้น

  1. กำหนดเป้าหมายของข้อมูลที่ต้องการถามตัวเองก่อนเสพว่า ข้อมูลนี้มีประโยชน์กับชีวิตจริงไหม เช่น ข่าวสุขภาพ เทคโนโลยี หรือการเงินที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายในชีวิต
  2. คัดกรองแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หลีกเลี่ยงข้อมูลจากแหล่งที่คลุมเครือ หรือข่าวลือ ควรใช้เครื่องมือช่วยตรวจสอบ เช่น Google Fact Check, Fact Check Explorer หรือบริการตรวจข่าวปลอม
  3. เสพข้อมูลแบบเลือกสรร ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง ใช้เทคนิคอ่านแบบ Skim หรือแค่หัวข้อข่าว เพื่อรักษาสมาธิ และลดเวลาจมอยู่กับข้อมูลที่ไม่จำเป็น
  4. จัดระเบียบช่องทางรับข้อมูลเช่น จัดกลุ่มไลน์หรือโซเชียลแยกเรื่องงาน-เรื่องส่วนตัว หรือเช็กข่าวเฉพาะช่วงเวลา ไม่ไถฟีดทั้งวัน
  5. จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่จำเป็น เช่น รายรับรายจ่าย ควรจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เช่น บัญชีเงินเดือน-รายจ่ายประจำ-หนี้สิน เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ทางการเงิน
  6. ใช้ AI เป็นตัวช่วยเช่น ใช้ ChatGPT สรุปข่าว, Google Alerts แจ้งเตือนเฉพาะหัวข้อที่สนใจ, หรือ OneNote จัดเก็บไอเดียสำคัญ
  7. ลดการใช้เทคโนโลยีบางช่วงเวลาเช่น ตั้งเวลาไม่ให้เช็กแอปธนาคาร หรือหุ้นระหว่างทำงาน เพื่อไม่ให้เครียดสะสม
  8. สร้างสมดุลระหว่างตัวเองกับข้อมูลเช่น พาตัวเองออกจากโลกดิจิทัลบ้าง ให้สมองได้พัก ฟังเสียงตัวเอง แล้วกลับมาจัดการข้อมูลด้วยความนิ่งมากขึ้น
  9. ฝึกสติและบริหารสมาธิในการเสพข้อมูล ยิ่งใช้เงิน-ลงทุน-ทำงาน ยิ่งต้องตัดสินใจบนฐานของข้อมูลที่ “เข้าใจ” ไม่ใช่แค่ “รู้เยอะ”
  10. ทบทวนและปรับปรุงวิธีรับข้อมูลเป็นระยะ ถามตัวเองเสมอว่า ข้อมูลที่เราเสพ ช่วยให้เราดีขึ้นไหม หรือแค่ทำให้เครียด-เปลืองเงิน-เปลืองพลัง

ที่มา : OKMD  

อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ