คนอาเซียนรวยช้า ชอบ “ออมเงิน” มากกว่า “ลงทุน” ความรู้ทางการเงินต่ำ เก็บเงินได้แค่ 10% ของรายได้

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

คนอาเซียนรวยช้า ชอบ “ออมเงิน” มากกว่า “ลงทุน” ความรู้ทางการเงินต่ำ เก็บเงินได้แค่ 10% ของรายได้

Date Time: 3 ก.ย. 2567 16:02 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • ผลสำรวจเผย อาเซียนความรู้การเงินต่ำ เลือก "ออมเงิน" มากกว่า "ลงทุน" คนรายได้น้อย ตัวเลือกลงทุนจำกัด อุปสรรคสร้างความมั่งคั่ง สิงคโปร์แบกค่าเฉลี่ยชอบลงทุน คนกว่า 36% ออมเงินมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้

Latest


Milieu Insight (มิลยู อินไซต์) บริษัทผู้ทำซอฟต์แวร์วิจัยด้านการตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เผยแพร่รายงาน Personal Finance and Investment Habits in Southeast Asia ซึ่งทำการสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติการเงินของคนใน 6 ประเทศอาเซียน จำนวน 3,000 คน จากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ 


พบว่า คนอาเซียนส่วนใหญ่เลือกออมเงินมากกว่าลงทุน สะท้อนจาก 54% ของคนในอาเซียน ไม่ได้แบ่งเงินเพื่อลงทุนอย่างจริงจัง มีคนเพียง 46% เท่านั้นที่ตื่นตัวในการแบ่งเงินไปลงทุน โดย 6 ใน 10 คน สามารถแบ่งเงินมากกว่า 20% ของรายได้เพื่อลงทุน ในขณะที่คน 43% สามารถออมเงินได้เพียง 10% ของรายได้ มีเพียงสิงคโปร์เท่านั้น ที่คนในประเทศ 36% สามารถออมเงินได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้  


ความตื่นตัวในการลงทุน และเงินออมที่ต่ำของคนส่วนใหญ่ในภูมิภาค สะท้อนว่า อาเซียนมีความรู้ทางการเงินต่ำ ประกอบกับมีรายได้น้อย จึงมีโอกาสเข้าถึง การลงทุนที่จำกัด ทำให้พลาดโอกาสในการสะสมความมั่งคั่ง และสร้างการเติบโตทางการเงิน นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมคนในภูมิภาคนี้ ถึงไม่ค่อยมีอิสระทางการเงิน

TOP5 อุปสรรคการลงทุนของคนอาเซียน


1.กลัวสูญเงิน (50%) 

2.ใช้เวลานานกว่าจะได้ผลตอบแทน (35%)

3.กลัวที่จะพลาดโอกาสการลงทุน (35%)

4.ข้อมูลเยอะ ตัดสินใจไม่ได้ (31%)

5.เริ่มต้นลงทุนไม่ถูก (30%)

62% ของคนไทย ต้องพึ่งกูรูเพื่อลงทุน เพราะขาดความรู้ทางการเงิน


เมื่อเจาะลึกพฤติกรรมการเงินของคนไทย พบว่า คนไทยกว่า 47% ตื่นตัวในการลงทุน ผ่านช่องทางธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของประเทศ โดยมักเลือกลงทุนกับธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงไทย  และเมื่อตัดสินใจลงทุน คนส่วนใหญ่กว่า 62% มักเลือกปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน มากกว่าค่าเฉลี่ยของคนในอาเซียน ซึ่งอยู่ที่ 49% สะท้อนว่าคนไทยมีความต้องการลงทุน แต่ขาดความรู้ จึงต้องพึ่งพาคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านการเงิน เพื่อเสริมความมั่นใจ


ด้านมุมมองนิยามความสำเร็จในชีวิต พบว่า กลุ่มคนอายุระหว่าง 16-24 ปี ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตัวเอง มากกว่าการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในขณะที่ โดยเฉลี่ยแล้วในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป เกือบครึ่งหนึ่งมองว่าความสำเร็จคือการได้เห็นลูกๆ และครอบครัวของพวกเขาเจริญรุ่งเรือง


นอกจากนี้พฤติกรรมการลงทุนของคนไทยในช่วงวัยต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยคนไทยอายุน้อย (16-24 ปี) มีแนวโน้มลงทุนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ และนักลงทุนชาวไทยในช่วงวัย 25-34 ปี มีแนวโน้มลงทุนในหุ้นและพันธบัตรมากกว่า

อ้างอิง

ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/economics/world_econ
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ