สังคมไทยน่าห่วง “ผู้สูงอายุ” ไม่มีเงินพร้อมเกษียณ 34% รายได้ไม่ถึง 3 หมื่น ต่ำกว่า เส้นความยากจน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สังคมไทยน่าห่วง “ผู้สูงอายุ” ไม่มีเงินพร้อมเกษียณ 34% รายได้ไม่ถึง 3 หมื่น ต่ำกว่า เส้นความยากจน

Date Time: 15 ก.ย. 2566 15:13 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

มีคำกล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศ ‘แก่ก่อนรวย’ ประเทศแรก ในบรรดาหลายๆ ประเทศที่อยู่ในสถานะเดียวกันกับเรา ซึ่งประเด็นนี้ ได้กลายเป็นความท้าทายทั้งเชิงโครงสร้างประชากร การลดลงของกำลังแรงงาน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับประเทศ


ที่สำคัญ น่าจะเป็นการบ้านเรื่องใหญ่ของ “รัฐบาลใหม่” ไม่น้อย ท่ามกลางข้อถกเถียง ระบบสวัสดิการของรัฐ ที่ยังไม่ครอบคลุมหรือไม่เพียงพอ จาก ปัจจุบัน เบี้ยผู้สูงอายุของไทยเฉลี่ยอยู่เพียง 600-1,000 บาท/เดือน เท่านั้น ซึ่งใครก็ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่า เป็นจำนวนที่ไม่เพียงพอต่อการยังชีพในปัจจุบัน สะท้อน ในอนาคตรัฐอาจต้องแบกภาระทางการคลังเพื่อดูแลส่วนนี้เพิ่มเติม 

สังคมผู้สูงอายุ ท้าทายรัฐสวัสดิการ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยข้อมูลว่า ประชากรผู้สูงอายุของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในอัตราที่รวดเร็ว กลุ่มวัย Silver Age จึงจะกลายมาเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจากสัดส่วนการใช้จ่ายที่มากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่นๆ แต่แม้ว่า Deloitte ได้ประมาณการว่า ภายในปี 2573 สัดส่วนการบริโภคของ Silver age ของไทยจะมีมูลค่าการบริโภคสูงถึง 331 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์เสียอีก 

แต่ไทยน่าจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุขั้นสุดยอด (Super-aged Society) ภายในปี 2572 ซึ่งการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทยนั้นมีความท้าทายเนื่องจากสถานะการเงินของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีเปราะบางและสวัสดิการรัฐที่ไม่เพียงพอ หรือ “แก่ก่อนรวย” 

คนไทย มีเงินออมเพื่อการเกษียณ ไม่พอ 

ขณะภาวะน่าห่วง สำคัญกว่า คือ ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ขาดความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุ รายได้น้อย ขาดการออม และสวัสดิการของรัฐที่จำกัด โดยสะท้อนจากสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย ส่วนใหญ่ยังคงทำงานอยู่หรือมีลูกหลานเลี้ยงดู โดย 34% ของผู้สูงอายุมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจน 

ส่งผลให้มีเพียงแค่ 5% ของผู้สูงอายุทั้งประเทศไทยที่มีเงินเหลือเก็บ แต่มูลค่าการออมยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50,000 บาท ราว 40% ของจำนวนผู้สูงอายุที่มีการออม เรียกได้ว่า สถานะการเงินของผู้สูงอายุไทยอยู่ในภาวะเปราะบาง ทำให้ต้องเกษียณอายุโดยขาดความพร้อมและมีความเสี่ยงทางการเงิน 

ทั้งนี้ หนึ่งในทางแก้ คือ การสนับสนุนการสร้างรายได้ในระยะปัจจุบัน และเริ่มเก็บออมที่ สม่ำเสมอ เพื่อการเกษียณอย่างมั่งคงมากขึ้น 

หลายประเทศ ขยายระยะเวลาเกษียณอายุ/หนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 

ขณะหนึ่งในทางออกที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุยังพอมีรายได้ต่อ คือ การพิจารณา ขยายระยะเวลาเกษียณอายุ เช่น ในสหรัฐฯ ขยายเป็น 65 ปี หรือ ฝรั่งเศส ขยายเป็น 62 ปี และกำลังจะเพิ่มเป็น 64 ปี เป็นต้น 

โดยที่ภาคเอกชน ไม่ได้ติดข้อจำกัดด้านงบประมาณ และสามารถหาฟังก์ชันของงานที่รองรับการทำงานของผู้สูงอายุได้ เช่น พนักงานขาย พนักงานบริการลูกค้า เสมียน และพนักงานขนส่ง เป็นต้น 

สำหรับภาคการเงินในต่างประเทศ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นกลไกสร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ เป็นอีกทางเลือกเช่นกัน เช่น 

  • Reverse Mortgage สำหรับกลุ่มเข้าสู่วัยสูงอายุที่มี กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์จะมีผลิตภัณฑ์คือ “Reverse Mortgage” หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อ ผู้สูงอายุ เพื่อเปลี่ยนบ้านเป็นเงินบำนาญสำหรับ ใช้จ่ายในช่วงที่ผู้สูงอายุไม่มีรายได้หรือไม่สามารถ หารายได้ได้ นิยมมากในสหรัฐฯ
  • Micro-Credit ระยะสั้น เป็นสินเชื่อระยะสั้นสำหรับผู้สูงอายุ โดยธนาคาร Caixa ในประเทศสเปนได้ให้ สินเชื่อแก่ผู้อาวุโสที่มีรายได้ต่อปี น้อยกว่า 17,200 ยูโร และวงเงินกู้ไม่เกิน 25,000 ยูโร พร้อมกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือบริการที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้กู้อาวุโสเท่านั้น

สินเชื่อผู้สูงอายุ ในไทยยังมีข้อจำกัด 

สำหรับประเทศไทย มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินในลักษณะสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุในทั้งสองรูปแบบ อย่างไรก็ดี สำหรับ Reverse Mortgage มีเพียงธนาคารของรัฐเพียงสองแห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เท่านั้น ที่มีกลไกในการให้สินเชื่อแบบย้อนกลับดังกล่าวกับผู้สูงอายุ 

ซึ่งประเด็นท้าทายอาจเป็นเพราะติดประเด็นการบริหารจัดการทรัพย์สินหรือบ้านหลังจากผู้กู้เสียชีวิต ซึ่งรวมถึงทิศทางมูลค่าบ้านในอนาคต อีกทั้งสินเชื่อแบบย้อนกลับนี้ อาจเหมาะสมเฉพาะกับผู้กู้ที่ไม่มีลูกหลานเท่านั้น แม้มีการกำหนดเงื่อนไขให้ทายาทสามารถไถ่ถอนคืนบ้านได้

ในส่วนของผลิตภัณฑ์ Micro-credit ในไทยนั้น จะมีเพียงเฉพาะกลไกของสหกรณ์ออมทรัพย์และกลไกของรัฐผ่านกองทุนผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ ประกอบอาชีพ ซึ่งในภาคการเงินของไทยยังมีช่องว่างให้ธนาคารสามารถเข้ามามีบทบาท ในการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับ ผู้สูงวัย เนื่องจากการกู้ยืม เพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียวอาจเป็นภาระของลูกหลานหรือตัวผู้กู้เอง รวมไปถึงความเสี่ยงของธนาคารด้วย 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ