แนะวิธีปลดแอก หนี้บัตรเครดิตท่วม อย่าเพิ่งเครียด

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แนะวิธีปลดแอก หนี้บัตรเครดิตท่วม อย่าเพิ่งเครียด

Date Time: 8 มิ.ย. 2560 12:07 น.

Video

“สัมมากร” ไม่ใช่ “สรรพากร” บริษัทขายบ้านในยุค “ณพน” MD วัยหนุ่ม  | On The Rise

Summary

  • อุ๊ตะ! อุ๊ตะ! ถึงกับต้องอุทานกันเลยทีเดียวเมื่อบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยถึงสถานะการเป็นหนี้ของคนไทยพบว่า สถานะการเป็นหนี้ของกลุ่มเจนวาย...

Latest


อุตะ! อุตะ! ถึงกับต้องอุทานกันเลยทีเดียวเมื่อบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยถึงสถานะการเป็นหนี้ของคนไทยพบว่า สถานะการเป็นหนี้ของกลุ่มเจนวาย นั่นก็คือ ผู้เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523- 2543 อายุประมาณ 9 - 29 ปี ซึ่งโตมาพร้อมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และกัสเจต   ไอซีทีเป็นก่อหนี้ระดับสูงตั้งแต่อายุยังน้อย และเป็นหนี้เสียไม่น้อย

โฟกัสรายละเอียดลงไปยังพบว่า ส่วนมากกลุ่มเจนวายเป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หรือ เพอร์ซัลนัลโลน แน่นอนการเป็นหนี้นั้น ไม่ใช่เรื่องผิดซะทีเดียว เพราะพื้นฐานฐานะ อาชีพ และความจำเป็นของแต่ละคนต่างกัน ไม่นับรวมคำที่มักพูดทีเล่นที่จริงกันว่า การเป็นหนี้ถือเป็นการมีเครดิต แต่ก็ต้องยอม รับว่า การเป็นหนี้มากๆ และไม่สามารถชำระได้ย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิต ประสิทธิภาพการทำงานและความสุขในชีวิต

ดังนั้น วันนี้ "ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์" มีคำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และปลดหนี้บัตรเครดิตสำหรับผู้ที่ยังมีรายได้ในแต่ละเดือน แต่เป็นหนี้ท่วมตัวมาเป็นข้อเสนอแนะระยะสั้นเบื้องต้น ดังนี้

1. อย่าสร้างหนี้ใหม่ก้อนใหญ่มาหมุน หรือ โป๊ะ หนี้เก่า


2. ไม่กู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยมหาโหด โดยเฉพาะลักษณะจ่ายดอกรายวัน ไม่จ่ายทบต้นทบดอกมาเพิ่มเติม

3. รวบรวมมูลหนี้บัตรเครดิตทั้งหมด ทุกใบ ทุกธนาคาร กรณีมีหนี้จากเพอร์ซัลนอลโลน หรือ บัตร  กดเงินสด ให้รวมเข้าด้วยในแต่ละเดือน

4. แยกเงินที่ต้องใช้ประจำเดือน และจ่ายหนี้ออกจากกัน


5. ตรวจสอบระยะเวลาการชำระหนี้ การตัดรอบบิล กำหนดชำระหนี้แต่ละเดือน และอัตราดอกเบี้ย

6. จ่ายหนี้มีอัตราดอกเบี้ยสูงก่อน แล้วจึงเรียงลำดับไปยังหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ จากนั้น เลือกจ่ายหนี้ที่กำหนดจ่ายเร็วและตัดรอบบิลเร็วเป็นลำดับถัดไป

7. กรณีมีเงินไม่พอจ่ายหนี้ ให้ขายทรัพย์สิน หรือ สินทรัพย์ ที่ไม่จำเป็นและสิ่งของฟุ้มเฟือยมาจ่ายหนี้ก่อน

8. หากเงินยังไม่พอจ่ายหนี้ อาจหาธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน ที่รับโอนหนี้ หรือ มีบริการรับโอนหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุด เพื่อจ่ายหนี้เพียงก้อนเดียวและลดการจ่ายดอกเบี้ย

9. เจรจาหาทางออกกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินเจ้าของหนี้บัตรเครดิต เพอร์ซัลนอลโลนและกดเงินสด

10. เข้าไปขอรับคำปรึกษาจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งบางช่วงจะมีบริการด้านการลดภาระหนี้สินให้บริการ

ทั้งนี้ ฝากถึงผู้อ่านขอให้มีวินัยทางการเงิน ประหยัด อดออม พร้อมกับลองทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อไป. 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ