“บี.กริม”โชว์สุดยอดเนื้อหอม เผยแผนระดมทุนหมื่นล้าน-สยายปีกบิ๊กบึ้ม

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“บี.กริม”โชว์สุดยอดเนื้อหอม เผยแผนระดมทุนหมื่นล้าน-สยายปีกบิ๊กบึ้ม

Date Time: 8 มิ.ย. 2560 06:20 น.

Summary

  • บี.กริม เพาเวอร์ เตรียมระดมทุนกว่า 1 หมื่นล้าน นำหุ้นเข้าตลาด โชว์แผนลงทุนในมือกว่า 5.5 หมื่นล้าน ขยายกำลังผลิตตามสัญญาขายไฟในมือ เผยสุดเนื้อหอมต่างชาติตบเท้าอยากเข้าร่วมทุนเพียบ หวังดันกำลังผลิตสู่เป้าหมาย 5,000 เมกะวัตต์ให้

Latest

เศรษฐกิจไทยยังลูกผีลูกคน 2 เม.ย.นี้ผวาไทยไม่รอด! ถูกสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้า

บี.กริม เพาเวอร์ เตรียมระดมทุนกว่า 1 หมื่นล้าน นำหุ้นเข้าตลาด โชว์แผนลงทุนในมือกว่า 5.5 หมื่นล้าน ขยายกำลังผลิตตามสัญญาขายไฟในมือ เผยสุดเนื้อหอมต่างชาติตบเท้าอยากเข้าร่วมทุนเพียบ หวังดันกำลังผลิตสู่เป้าหมาย 5,000 เมกะวัตต์ให้ได้ภายใน 5 ปี พร้อมชิงดำโควตาเอส-พีพีไฮบริด 300 เมกะวัตต์

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ไม่เกิน 716.9 ล้านหุ้น หรือประมาณ 27.5% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยจะเสนอขายให้นักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนสถาบันและผู้มีอุปการคุณ ไม่เกิน 60% ส่วนที่เหลือเสนอขายให้นักลงทุนรายย่อยในประเทศ ขณะที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) จะเข้ามาลงทุนวงเงินไม่เกิน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 5% ของหุ้นทั้งหมด โดยคาดว่าจะสรุปช่วงราคาเสนอขายหุ้น IPO ได้ในวันที่ 20 มิ.ย.นี้ และคาดว่าจะเริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ราววันที่ 19 ก.ค.นี้

นางปรียนาถกล่าวว่า คาดว่าจะได้เม็ดเงินจากการระดมทุนครั้งนี้กว่า 10,000 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปใช้คืนหนี้สถาบันการเงิน 6-7,000 ล้านบาท และใช้คืนหนี้หุ้นกู้ราว 2,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะใช้ลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนตามแผน 5 ปี (ปี 2560-64) ไว้ที่ 55,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญาให้สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มเป็น 2,357 เมกะวัตต์ในปี 64 จากปัจจุบันมีกำลังผลิตรวม 30 โครงการ 1,644 เมกะวัตต์ ซึ่งเงินลงทุนดังกล่าวแบ่งเป็นเงินกู้ 75% และเงินทุนของบริษัท 25% โดยบริษัทมีแผนจะออกหุ้นกู้เพื่อใช้ในแต่ละโครงการ หลังก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้ระดับโครงการมูลค่า 11,500 ล้านบาท “ปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทหลายรายทำให้คาดการณ์ว่า 3-5 ปีบริษัทจะสามารถผลักดันกำลังการผลิตรวมเป็น 5,000 เมกะวัตต์ได้”

นอกจากนี้ ในปีนี้บริษัทจะยื่นเสนอราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้า สำหรับโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) 5 โครงการประกอบด้วย การก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามนโยบายการรับซื้อขายไฟฟ้าฉบับใหม่ ทดแทนสัญญาชุดเดิมที่จะหมดอายุลง โดยบริษัทได้รับอนุมัติให้สร้างโรงไฟฟ้า (SPP) ทดแทน 3 แห่งคือ โรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1,โรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 2 และโรงไฟฟ้า บี.กริม เพาเวอร์ (แหลมฉบัง) 1 กำลังการผลิต 140-160 เมกะวัตต์ต่อแห่ง โดยอยู่ระหว่างรอทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่วนอีก 2 แห่ง เป็นโรงไฟฟ้า SPP ใหม่ ที่จะสร้างในภาคกลางและภาคตะวันตกกำลังการผลิตแห่งละ 120 เมกะวัตต์ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) แล้ว ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้ง 5 แห่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงใช้เงินลงทุนต่อแห่งราว 5,000-6,000 ล้านบาท คาดว่าจะทยอยเริ่มการก่อสร้างได้ปลายปีนี้

นอกจากนี้ ยังเตรียมลงทุนโครงการโซลาร์ฟาร์มสำหรับหน่วยงานราชการ ระยะที่ 2 หลังได้รับคัดเลือกจากองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้ร่วมลงทุนแล้ว 5 โครงการ 24 เมกะวัตต์ และยังมีโครงการที่ต้องรอลุ้นผลการจับสลากอีก 3 โครงการรวม 15 เมกะวัตต์ รวมถึงยังรอผลการเจรจาเพื่อเข้าร่วมลงทุนกับกลุ่มสหกรณ์ภาคการเกษตรอีกจำนวนหนึ่ง จากที่มีโควตาผลิตไฟฟ้า 119 เมกะวัตต์ รวมทั้งยังสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน (ไฮบริด) แบบสัญญาเสถียร (เฟิร์ม) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) หรือ เอสพีพีไฮบริดเฟิร์ม ที่ภาครัฐเตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้า 300 เมกะวัตต์ และบริษัทยังได้จัดตั้งทีมงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมที่จะหันมาผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) มากขึ้น เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้า รวมทั้งยังร่วมกับพาร์ตเนอร์จาก China Energy Engineering Corporation ติดตามเทคโนโลยีโซลาร์รูฟท็อปและ Energy Storage เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ