เงินทุนต่างชาติ ยังคงไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากภาพ บริษัทยักษ์ใหญ่หลายราย โดยเฉพาะผู้ผลิตรถ EV ขอรับการส่งเสริมการลงทุนไม่ขาดสาย
ขณะล่าสุด BOI เผยว่า ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ภาพรวม ยอดบริษัทต่างชาติ เข้ามาขอรับ การส่งเสริมการลงทุน ทะลุแล้ว 5 แสนล้านบาทตอกย้ำ ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอาเซียน ในช่วงการเปลี่ยนผ่านของโลกหลายๆ ด้าน
"นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์" เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ มกราคม-กันยายน 2566 มีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,555 โครงการ เพิ่มขึ้น 31% ด้วย มูลค่าเงินลงทุน 516,802 ล้านบาท
หลังจากรัฐบาลมีนโยบายเปิดรับการลงทุนครั้งใหญ่ รวมทั้งการประกาศใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี ที่มีเป้าหมายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจใหม่เพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนมากขึ้น
โดยตัวเลขดังกล่าว ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง รวมทั้งศักยภาพการเติบโตระยะยาวของไทย เห็นได้จากกลุ่มทุนต่างชาติหลายรายยังเดินหน้าลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง
โดยผู้ผลิต 3 รายล่าสุดที่เพิ่งได้รับอนุมัติเมื่อเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 366,188 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า โอกาสค่ายรถEV ของจีน ที่ผลิตในไทย มีมาก หลังจาก EU เตรียม สอบรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากจีน ทำให้ผู้ผลิตต้องหาทางดิ้น โดยค่ายจีนในไทยไม่น้อยกว่า 70,000 คันนั้น มีโอกาสที่จะส่งออกไปตลาดยุโรปราว 10,000 คัน ซึ่งแม้จะยังน้อยหรือคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 8% ของยอดขาย BEV ค่ายจีนทั้งหมดในยุโรปที่อาจขายได้ไม่ต่ำกว่า 130,000 คันในปีหน้า แต่ก็จะนับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการส่งออก BEV จากไทยไปยุโรป
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) BOI เผยว่า มีจำนวน 910 โครงการ เพิ่มขึ้น 49% เงินลงทุน 398,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43%
นอกจากนี้ ตามยุทธศาสตร์ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ และประตูการค้าการลงทุนของภูมิภาค ใน 9 เดือนที่ผ่านมา มีตัวเลขขอรับส่งเสริมประเภทนี้ จำนวน 93 โครงการ เงินลงทุน 2,582 ล้านบาท โดยมีบริษัทต่างชาติรายใหญ่เข้ามาลงทุนในกิจการนี้หลายราย เช่น
"สำหรับประโยชน์ของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา คาดว่าจะทำให้มูลค่าการส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านล้านบาทต่อปี ใช้วัตถุดิบในประเทศกว่า 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี และสร้างงานกว่า 1 แสนตำแหน่ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และอาหารแปรรูป ซึ่งจะเป็นสาขาที่มีการจ้างงานมากที่สุด”
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากสถิติการออกบัตรส่งเสริม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุด จะพบว่าในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการออกบัตรส่งเสริม 1,299 โครงการ เงินลงทุนรวม 334,915 ล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยโครงการเหล่านี้จะทยอยลงทุนภายใน 6 เดือนถึง 2 ปีภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม