7 เดือนโดนดูดเงิน 1,150 ล้าน ธปท.เตือนอย่า “คลิกลิงก์” เด็ดขาด!

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

7 เดือนโดนดูดเงิน 1,150 ล้าน ธปท.เตือนอย่า “คลิกลิงก์” เด็ดขาด!

Date Time: 14 ก.ค. 2566 06:04 น.

Summary

  • คนไทยยังถูกหลอกไม่หยุด 7 เดือน โดนแอปดูดเงินในบัญชีเสียหายกว่า 1,150 ล้านบาท ขณะที่สถาบันการเงินเดินหน้ามาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินตามแนวทาง ธปท. คาดช่วยลดคนถูกหลอกได้ระดับหนึ่ง แต่คนไทยต้องตื่นตัว ไม่เชื่อง่าย และอย่า “คลิกลิงก์” เด็ดขาด ถ้าไม่อยากสูญเงิน

Latest

เศรษฐกิจไทยยังลูกผีลูกคน 2 เม.ย.นี้ผวาไทยไม่รอด! ถูกสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้า

คนไทยยังถูกหลอกไม่หยุด 7 เดือน โดนแอปดูดเงินในบัญชีเสียหายกว่า 1,150 ล้านบาท ขณะที่สถาบันการเงินเดินหน้ามาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินตามแนวทาง ธปท. คาดช่วยลดคนถูกหลอกได้ระดับหนึ่ง แต่คนไทยต้องตื่นตัว ไม่เชื่อง่าย และอย่า “คลิกลิงก์” เด็ดขาด ถ้าไม่อยากสูญเงิน

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยความคืบหน้ามาตรการจัดการภัยทุจริตทาง การเงิน ซึ่ง ธปท.ได้ออกเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำ ให้สถาบัน การเงินทุกแห่งปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันว่า มีความคืบหน้า ดังนี้ มาตรการที่ 1.ด้านการป้องกันมี 6 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การยกเลิกแนบลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS และอีเมลของธนาคาร และการยกเลิกแนบลิงก์ขอข้อมูลสำคัญผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น ไลน์ 2.การจำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ หรือ mobile banking (username) ของแต่ละสถาบันการเงิน ให้ใช้ได้ 1 อุปกรณ์ต่อบัญชี 3.การพัฒนาระบบความปลอดภัยบน mobile banking เพื่อให้เท่าทันภัยการเงินรูปแบบใหม่

4.การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้งได้ดำเนินการแล้ว 70% ของสถาบันการเงินทั้งหมด 5.การกำหนดเพดานวงเงินถอน/โอนสูงสุดต่อวัน ให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่มผู้ใช้บริการแต่ละประเภท และการประเมินความตระหนักรู้ต่อภัยทุจริตดำเนินการไปแล้ว 80% 6.มาตรการยกระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนขั้นต่ำด้วย biometrics โดยการสแกนใบหน้าเมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการทำธุรกรรมผ่าน mobile banking เสร็จสิ้นแล้ว 75% และจะทำได้ 100% สิ้นปี 66 นี้

มาตรการที่ 2. ด้านการตรวจจับ มี 3 เรื่อง ดังนี้ 1.การกำหนดเงื่อนไขการตรวจจับและติดตามธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดปกติหรือกระทำความผิด และรายงานไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) 2.จัดให้มีการแจ้งความออนไลน์ ได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว 3.การพัฒนาระบบตรวจจับและติดตามบัญชีหรือธุรกรรมต้องสงสัยแบบทันที เพื่อให้การระงับธุรกรรมชั่วคราวเมื่อตรวจพบทำได้เร็วขึ้น คืบหน้า 25% จะแล้วเสร็จสิ้นปีนี้ มาตรการที่ 3 ด้านการตอบสนองและรับมือ มี 3 เรื่อง ทำเสร็จแล้วทุกเรื่อง ดังนี้ 1. สถาบันการเงินทุกแห่งจัดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน Hotline 24 ชั่วโมง แยกจากช่องทางให้บริการปกติ เพื่อให้แจ้งเหตุได้เร็ว 2.การดูแลผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ หากพบว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากธนาคาร 3.การสนับสนุนข้อมูลให้ตำรวจเต็มที่และรวดเร็ว

นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผอ.ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธปท. กล่าวว่า มิจฉาชีพได้เปลี่ยนแปลงการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆตลอดเวลา ล่าสุด ได้ปรับระบบการส่ง SMS มายังประชาชนโดยตรง โดยผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมหลัก ทำให้ยอดถูกหลอกลวงแอปดูดเงินกลับมาเพิ่มขึ้นช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา หลังเริ่มลดลงในไตรมาสแรกปีนี้ โดย 7 เดือน (ธ.ค.65-มิ.ย.66) มีความเสียหายจากแอปดูดเงิน 1,152 ล้านบาท ดังนั้น ขอให้ประชาชนระมัดระวังการคลิกลิงก์ไม่ว่าจะมาจาก SMS อีเมล ไลน์ หรือโซเชียลมีเดียใดก็ตาม อย่าคลิกเด็ดขาดไม่ว่าเรื่องราวจะน่าเชื่อถือแค่ไหน เพราะช่องทางที่มิจฉาชีพจะดูดเงินไปได้คือการคลิกลิงก์

นอกจากนี้ ยังให้สถาบันการเงินเร่งรัด ดำเนินการตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 โดยธนาคารได้ยกระดับการรับแจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง และระงับธุรกรรมชั่วคราวไว้ 72 ชั่วโมง เพื่อช่วยตัดตอนเส้นทางการเงิน รวมทั้งมีกระบวนการและพัฒนาระบบกลางแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี และธุรกรรมที่ต้องสงสัยระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสียหายต่อทรัพย์สินประชาชน และช่วยจัดการบัญชีม้าได้ดีขึ้น ล่าสุด เดือน พ.ค.-มิ.ย.66 จับกุมบัญชีม้าได้เพิ่มขึ้นเป็น 9,000 บัญชีต่อเดือน

สำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ มีแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1.ตั้งสติจำบัญชีที่เราโอนเงินไป และหยุดติดต่อกับมิจฉาชีพทันที เช่น ตัดอินเตอร์เน็ต ปิดเครื่อง 2.รีบติดต่อสถาบันการเงินที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง call center hotline 24 ชั่วโมง หรือสาขาในเวลาทำการ เพื่อระงับธุรกรรมหรือบัญชีของผู้เสียหายและบัญชีปลายทาง ซึ่งตามกฎหมายใหม่ธนาคารจะระงับธุรกรรมได้แค่ 72 ชม.เท่านั้น หากไม่มีหมายอายัดต่อจากตำรวจ ดังนั้น 3.ต้องเร่งแจ้งความอย่างเร็วภายใน 72 ชั่วโมง ผ่านเว็บ Thaipolice online.com ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสถานีตำรวจ เพื่อให้ตำรวจแจ้งมาที่ธนาคารเพื่อขยายเวลาการระงับธุรกรรมต่ออีก 7 วัน เพื่อสืบสวนสอบสวนและออกหมายอายัดบัญชีต่อไป.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ