สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเตือนเร่งจัดเก็บรายได้

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเตือนเร่งจัดเก็บรายได้

Date Time: 15 มิ.ย. 2566 06:20 น.

Summary

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้รายงานความเสี่ยงทางการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2565 ว่า ภาวะเศรษฐกิจได้ส่งสัญญาณพื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมของความเสี่ยงการคลังและมุมมองความเสี่ยงในอนาคต ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564

Latest

กรุงเทพอัมพาต ประชาชนขวัญเสียแผ่นดินไหว รายจ่ายกลับบ้านพุ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้รายงานความเสี่ยงทางการคลัง ประจำปีงบประมาณ 2565 ว่า ภาวะเศรษฐกิจได้ส่งสัญญาณพื้นตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมของความเสี่ยงการคลังและมุมมองความเสี่ยงในอนาคต ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 แต่มีประเด็นความเสี่ยงเรื่องที่อาจทำให้เกิดมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น ในระยะปานกลาง อาทิ ความเสี่ยงด้านรายได้ปีงบประมาณ 2566 แม้จะอยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว ทำให้ในระยะปานกลางรัฐบาลควรเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่ออัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่มีแนวโน้มลดลง ที่ปีงบประมาณ 2566 ได้ประมาณการรายได้ที่ 2.49 ล้านล้านบาท

สำหรับแนวโน้มความเสี่ยงด้านรายจ่ายในระยะปานกลาง จะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565 โดยรายจ่ายงบประมาณที่กลับมาขยายตัวได้ในระดับปกติ อาจมีแรงกดดันจากรายจ่ายเพื่อชำระหนี้และภาระผูกผันที่เพิ่มสูงขึ้นจากการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวในระดับสูงช่วงโควิด-19 รวมถึงการจ่ายสวัสดิการทั้งบุคลากรภาครัฐและประชาชนที่จะเพิ่มขึ้นตามการเข้าสู่สังคมสูงวัย ขณะที่ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ตามแผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2567-2570 ได้ปรับลดระดับการขาดดุลการคลังอยู่ที่ไม่เกิน 3% ของจีดีพี ส่งผลให้รัฐบาลยังมีวงเงินกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ เพื่อรองรับผลการจัดเก็บรายได้ ไม่เป็นไปตามประมาณการ เพื่อเป็นกลไกบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพิ่มเติม

ขณะที่ความเสี่ยงด้านหนี้ยังอยู่ในระดับบริหารจัดการได้ แต่รัฐบาลต้องเพิ่มความระมัดระวังในการก่อหนี้ระดับสูงเพิ่มเติมอีกนับจากนี้ และต้องเร่งเพิ่มความสามารถ ในการจัดเก็บรายได้ของรัฐให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในระดับสากล เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆในอนาคต, ทบทวนมาตรการยกเว้นภาษีและมาตรการลดหย่อนต่างๆให้เท่าที่จำเป็น, เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้, ปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะโครงสร้างบุคลากรภาครัฐ ให้มีขนาดเหมาะสม และเมื่อจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ ควรปรับลดวงเงินกู้ชดเชยเพื่อขาดดุลลงเป็นอันดับแรก โดยปีงบประมาณ 2566 ตั้งงบขาดดุล 695,000 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ