"มิ้นต์ ฉัตรชัย" อดีตวิศวกร พลิกแผงมะนาวเล็กๆ สู่เจ้าของ Lemon me farm

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

"มิ้นต์ ฉัตรชัย" อดีตวิศวกร พลิกแผงมะนาวเล็กๆ สู่เจ้าของ Lemon me farm

Date Time: 7 เม.ย. 2564 17:44 น.

Video

“ยาดมพันล้าน” เซียงเพียว - เป๊ปเปอร์มิ้นท์ ฟิลด์ | BrandStory Exclusive EP.12

Summary

  • เศรษฐีป้ายแดง พูดคุยกับ "มิ้นต์ ฉัตรชัย" จากอดีตวิศวกร รับช่วงต่อสวนมะนาวของครอบครัว ปิ๊งไอเดียแปรรูปมะนาว จากแผงมะนาวเล็กๆ หน้าสวน สู่เจ้าของ Lemon me farm

Latest


เศรษฐีป้ายแดง พูดคุยกับ "มิ้นต์ ฉัตรชัย" จากอดีตวิศวกร รับช่วงต่อสวนมะนาวของครอบครัว ปิ๊งไอเดียแปรรูปมะนาว จากแผงมะนาวเล็กๆ หน้าสวน สู่เจ้าของ Lemon me farm

วันที่ 7 เมษายน 2564 รายการ "เศรษฐีป้ายแดง" ทางช่องไทยรัฐทีวี 32 พาไปพูดคุยกับ "มิ้นต์" หรือ นายฉัตรชัย ดีสวัสดิ์ เจ้าของ Lemon me farm (เลมอน มี ฟาร์ม) เปิดเผยไอเดียการทำเลมอน คิวบ์ ว่า แต่เดิมเราทำน้ำมะนาวแช่แข็งอยู่แล้ว แล้วเราได้รับฟีดแบ็กจากลูกค้าที่อยู่คอนโดว่า ไม่สามารถใช้หมดในครั้งเดียว เมื่อนำน้ำมะนาวมาละลายหลายครั้ง จะทำให้คุณภาพลดลง เราจึงเกิดไอเดียนำน้ำมะนาวมาทำเป็นก้อน ใน 1 ก้อน เท่ากับ มะนาว 1 ลูก

คุณมิ้นต์ เล่าอีกว่า ตนเองเรียนจบวิศวะ แต่ครอบครัวทำการเกษตรมาตั้งแต่ตนเกิด หลังจากเรียนจบยังไม่ได้เข้ามาช่วยกิจการที่บ้านเต็มตัว จนกระทั่งเกิดวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ปรากฏว่าแปลงมะนาวของที่บ้านถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด 60 ไร่

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น คุณพ่อได้กลับมาปลูกมะนาวอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นหลายคนก็ปลูกมะนาวพร้อมๆ กัน เมื่อผลผลิตออกพร้อมกันอีก ทำให้ราคาตก มะนาวราคาถูก ในตอนนั้นตนยังเป็นพนักงานประจำ แต่จะใช้เวลาช่วงเสาร์อาทิตย์มาช่วยที่บ้านทำมะนาวแปรรูปเป็น "น้ำมะนาวพร้อมดื่ม" ขายหน้าฟาร์มให้กับคนที่เข้ามาซื้อต้นมะนาว ปรากฏว่าขายดี แต่ด้วยความที่เป็นมือใหม่ ยังไม่มีความรู้ ทำให้เราควบคุมคุณภาพไม่ได้ รสชาติน้ำมะนาวไม่เหมือนเดิม ช่วงแรกลูกค้าซื้อกลับไป สามารถเก็บได้ 3 วัน จึงค่อยๆ หาความรู้ไปเรื่อยๆ

จนกระทั่งจุดที่ทำให้ก้าวเข้ามาทำธุรกิจเต็มตัวคือ วันที่คุณพ่อเส้นเลือดในสมองแตก ไม่สามารถสื่อสารถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ ได้ ทำให้เราต้องปรับตัว ซึ่งช่วงแรกที่เริ่มทำแปรรูปยอดการผลิตพุ่งสูงมาก จากขายน้ำมะนาวพร้อมดื่มหน้าฟาร์ม มากสุด 1,000 ขวดต่อวัน พุ่งเป็น 1 แสนขวดต่อเดือน ในตอนนั้นคิดว่าเราเก่งแล้ว แต่สุดท้ายแล้วมันคือ Fashion Food หรือ สินค้าตามกระแส เมื่อกระแสตกยอดขายลดเหลือเพียง 2 หมื่นขวด ประกอบกับเป็นคนที่ไม่ค่อยทำบัญชี ทำให้ไม่รู้กำไรขาดทุน

คุณมิ้นต์ กล่าวต่อว่า เมื่อเจอปัญหาก็ได้นำมาวิเคราะห์ จากนั้นได้เข้าอบรมหาความรู้ที่ต่างๆ เพราะบางครั้งการทำเราอยู่กับธุรกิจตัวเองอย่างเดียว จะโฟกัสเพียงยอดขาย จะไม่ได้มองเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังนั้นเราต้อง Research and Development หรือ การค้นคว้าและพัฒนา

สำหรับทิศทางธุรกิจในอนาคต เป้าหมายแรกคือทำให้คนในประเทศเชื่อก่อนว่าเรารู้จักมะนาวจริง ใช้มะนาวที่ดี จากนั้นจะขยายธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ ในตอนนี้ยอดขายต่อเดือนประมาณ 40-50 ตัน สิ่งสำคัญคือการทำให้ลูกค้าจดจำเราได้ ซึ่งบ้านเราจะจำสินค้าจากสถานที่ เราจึงทำสถานที่ของเราเอง เป็นคาเฟ่ในสวนมะนาว "Lemon me farm" (เลมอนมีฟาร์ม) จ.นครปฐม เพื่อให้คนที่มาจดจำเราได้ โดยคาเฟ่ของเราจะขายทุกอย่างเกี่ยวกับมะนาว.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ