ดันเกษตรปลอดภัยสู่วาระแห่งชาติ

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ดันเกษตรปลอดภัยสู่วาระแห่งชาติ

Date Time: 15 ต.ค. 2562 08:15 น.

Summary

  • นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถาบันได้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Latest

เกาะติดแผ่นดินไหว: ห้าง ออฟฟิศ สถานที่สำคัญ ประกาศงดใช้อาคารชั่วคราว อัปเดตสถานการณ์ที่นี่

ต้ังไข่ระดับตำบลสู่ครัวของโลก ส.อ.ท.โดดคัดท้ายค้าน 3 สารพิษ

นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถาบันได้เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศนโยบายเกษตรปลอดภัย เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อดำเนินการในระยะเร่งด่วน ก่อนก้าวสู่เกษตรอินทรีย์ ใน 10 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยยกระดับสินค้าเกษตรของไทยให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อป้อนให้กับโรงงานแปรรูปอาหาร เพื่อส่งออกได้ ที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ครัวโลกที่มีศักยภาพในอนาคต

“ผมได้เสนอกระทรวงเกษตรฯ ว่าภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความได้เปรียบ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน แต่เรากลับมองข้ามความได้เปรียบดังกล่าว ทำให้ขาดการยกระดับคุณภาพการผลิต เพราะวันนี้เกษตรกรไทยยังคงเป็นผู้ที่มีรายได้ต่ำ เพราะขาดความรู้ เงินทุน ตลาดและนวัตกรรม จึงทำให้สินค้าเกษตรไทยบางส่วน เกิดปัญหาไม่ปลอดภัย มีสารตกค้างไม่สามารถส่งออกได้ตามมาตรฐานระดับโลก จึงต้องมุ่งทำให้เป็นเกษตรปลอดภัยก่อน เพื่อให้เกิดความรู้แล้วจึงขยับไปสู่เกษตรอินทรีย์”

ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะนำนวัตกรรมมายกระดับวิถีชีวิตทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการเกษตร 4.0 ด้วยการมุ่งสู่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร แต่หากวัตถุดิบสำคัญทางการเกษตรไม่ปลอดภัยก็ย่อมกระทบต่อกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมอาหารเช่นกัน แนวทางการทำเกษตรปลอดภัยที่ ส.อ.ท.ได้เสนอให้พิจารณา ได้แก่ หน่วยงานรัฐทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันเพื่อประกาศพื้นที่เป็นเกษตรปลอดภัยจากสารปนเปื้อน โดยเริ่มจากหนึ่งตำบลเกษตรปลอดภัย หนึ่งอำเภอเกษตรปลอดภัย ก่อนขยายสู่ระดับจังหวัด เพราะขึ้นอยู่กับความพร้อมแต่ละพื้นที่

ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี อาทิ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ดึงมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ หรือใกล้เคียงมาร่วมวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรต่างๆในแต่ละพื้นที่ ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม รัฐบาลต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามากำหนดพื้นที่ (โซนนิ่ง) เพาะปลูก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และสิ่งสำคัญต้องผลักดันให้สินค้าเกษตรผ่านมาตรฐานสินค้าเกษตร (GAP)

“ถ้าทำได้ตามข้อเสนอ ปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรก็จะไม่มี เพราะไม่มีสารตกค้าง การแปรรูปอาหารผู้ประกอบการก็ไม่กังวลกับความไม่ปลอดภัย มูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกในอนาคต อาจเพิ่มขึ้นได้อีก 20-30% จากขณะนี้ ผมจึงเห็นด้วยที่รัฐบาลจะแบน 3 สารคือ พาราควอต-ไกลโฟเซต-คลอร์ไพริฟอสเพื่อให้เป็นภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ปลอดสารพิษ”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ