ยกระดับกองทุนหมู่บ้าน สู่ธนาคารชุมชนให้เป็นแหล่งกู้ยืมในหมู่บ้าน

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ยกระดับกองทุนหมู่บ้าน สู่ธนาคารชุมชนให้เป็นแหล่งกู้ยืมในหมู่บ้าน

Date Time: 13 ก.ย. 2562 08:05 น.

Summary

  • นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะผลักดันให้กองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศยกระดับเป็นธนาคารชุมชนตามกฎหมายธนาคารชุมชนที่มีผลบังคับใช้แล้ว

Latest

ลุย “ลาว-จีน” ขายทุเรียน พาณิชย์ขายข้าว “แอฟริกาใต้” 3.9 แสนตัน

รอง “สมคิด” เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจฐานราก

นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะผลักดันให้กองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศยกระดับเป็นธนาคารชุมชนตามกฎหมายธนาคารชุมชนที่มีผลบังคับใช้แล้ว เพื่อให้เป็นแหล่งกู้ยืมภายในหมู่บ้าน แก้ปัญหาการกู้เงินนอกระบบ ซึ่งคนในหมู่บ้านจะรู้ดีว่าใครมีเครดิตเป็นอย่างไร โดยคาดว่าในระยะแรกจะมีกองทุนหมู่บ้านราว 20,000 แห่ง ซึ่งจัดว่าเป็นกองทุนเกรด A (ระดับดีมาก) ที่จะสามารถจัดตั้งเป็นธนาคารชุมชนได้ โดยในการยกระดับกองทุนนั้นจะมี ธ.ก.ส.และออมสินช่วยสนับสนุน

ขณะที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายกองทุนหมู่บ้านว่า วันที่ 21 ก.ย.นี้จะมีงานสัมมนาใหญ่ประชารัฐสร้างไทย จึงอยากให้หน่วยงานต่างๆ ช่วยกันมุ่งเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจภายนอก โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นเจ้าภาพ เพราะต้องการให้เป็นสถาบันสร้างผู้ประกอบการด้านการเกษตรเต็มรูปแบบ และให้กองทุนหมู่บ้านเป็นแกนช่วยพัฒนา “เรามีองคาพยพพร้อม จึงต้องการให้ทุกคนมาร่วมโฟกัสพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง โดยไม่ได้ดูแลเฉพาะภาคเกษตร แต่จะต้องดูแลทุกชุมชน รวมถึงสวัสดิการคนจน ฉะนั้นทุกกลไกของพลังประชารัฐจะต้องเข้ามาร่วมกัน”

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของกระทรวงการคลัง ไม่ได้มองเฉพาะการพัฒนาภาคการเกษตรเท่านั้น แต่รวมไปถึงการท่องเที่ยวชุมชน วิสาหกิจชุมชน และเอสเอ็มอี (SME) ภาคการเกษตรด้วย ทั้งนี้ จะระดมหน่วยงาน อาทิ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรมธนารักษ์ จัดทำแผนและโครงการเพื่อยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สำหรับการปฏิรูปภาคการเกษตร นอกจากการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ต้องสร้างสินค้าใหม่ เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าการเกษตร โดยใช้ตลาดนำการผลิต และดึงภาคการเกษตรให้สามารถเชื่อมโยงกับภาคการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวชุมชน การทำร้านค้าชุมชน ซึ่งครั้งนี้จะไม่ทำโครงการแบบนำร่อง แต่จะปูพรมพัฒนาทั่วประเทศเลย โดยหวังผลการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีตัวชี้วัดผลการทำงานทั้งในด้านรายได้และความเป็นอยู่.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ