Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
วิ่งสู้ฟัด

Economics

Analysis

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

วิ่งสู้ฟัด

Date Time: 5 มี.ค. 2567 05:35 น.

Summary

  • ทุกวันนี้หลายอุตสาหกรรมของประเทศกำลังเผชิญจากกระแสสินค้าจากจีนเข้ามาแย่งตลาด โดยเฉพาะ “อุตสาหกรรมเหล็ก” ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ ได้รับผลกระทบรุนแรงสุด

Latest

SCB คาด กนง.ลดดอกเบี้ยปลายปี

ทุกวันนี้หลายอุตสาหกรรมของประเทศกำลังเผชิญจากกระแสสินค้าจากจีนเข้ามาแย่งตลาด โดยเฉพาะ “อุตสาหกรรมเหล็ก” ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศ ได้รับผลกระทบรุนแรงสุด

จนทำให้การใช้กำลังการผลิตเหล็กในประเทศ (Capacity Utilization) ในปี 2566 ตกต่ำเหลือเพียง 31% เท่านั้น และแนวโน้มยังแย่ลงอีกในปี 2567

“เกรียงไกร เธียรนุกุล” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ทั้ง ส.อ.ท.และผู้ผลิตเหล็กของประเทศไทยตระหนักถึงปัญหารุนแรงนี้ ที่เหล็กไทยได้ตกเป็นเป้าใหญ่ของเหล็กจีนในการทุ่มตลาด จึงได้ร่วมกันเรียกร้องภาครัฐให้เร่งล้อมคอกก่อนโรงงานเหล็กของไทยจะสูญพันธุ์

เกรียงไกร เธียรนุกุล
เกรียงไกร เธียรนุกุล

เพราะเป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งว่าหากภาครัฐยังดำเนินการต่างๆ ไม่ทันการณ์ โรงงานเหล็กของไทยจะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานอีกจำนวนมาก เนื่องมาจากสาเหตุหลักคือ

1.ในปี 2566 ประเทศจีนส่งออกสินค้าเหล็กไปทั่วโลกรวม 90.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึง 36.2% จากปี 2565 นับเป็นปริมาณสูงสุด ในรอบ 7 ปีหลังสุด โดยเป้าหมายหลักที่เหล็กจีนมุ่งทุ่มตลาดคือ อาเซียน 26.9 ล้านตัน ตะวันออกกลางและแอฟริกา 25.7 ล้านตัน และเอเชียตะวันออก 12.5 ล้านตัน เพราะจีนไม่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งใช้มาตรการตอบโต้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) โดยเก็บอากร SG สินค้าเหล็กทุกประเภทสูงถึง 25%

ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าเหล็กจากจีนในปี 2567 นี้ มีแนวโน้ม รุนแรงยิ่งขึ้น เพราะปัญหาวิกฤติการเงิน และ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายในประเทศจีนยังถดถอยต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กภายในประเทศจีนถดถอย -3.3% ในปี 2566 และยังจะลดต่อเนื่องอีกราว -1.7% ในปี 2567 ในขณะที่โรงงานเหล็ก ของจีนยังไม่ยอมลดปริมาณการผลิตเหล็กแต่อย่างใด

2.การย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนมาตั้งโรงงานเหล็กในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดปัญหากำลังการผลิตส่วนเกิน (Excess Capacity) ในประเทศ ไทยรุนแรงมากขึ้น

3.นอกจากการแย่งตลาดโดยขายเป็นสินค้าเหล็กโดยตรงแล้ว ประเทศจีนยังส่งออกสินค้าต่อเนื่องจากเหล็ก ได้แก่ โครงสร้างอาคารที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนเหล็กประเภทต่างๆเข้ามายังไทยมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลเชิงลบต่อผู้ประกอบการไทยและแรงงานไทยในอุตสาหกรรมเชื่อมประกอบและแปรรูปเหล็ก (Steel Fabrications) ด้วย

ส.อ.ท.จึงได้นำเสนอต่อรัฐบาลผ่านทั้งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ และนางพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ให้เร่งบูรณาการการแก้ไขวิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน โดยเสนอแนวทางแก้ไขวิกฤติอุตสาหกรรมเหล็ก ดังนี้

โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ใช้มาตรการห้ามตั้ง ห้ามขยายโรงงานเหล็ก โดยมุ่งไปที่เหล็ก ซึ่งประเทศไทยมีกำลังการผลิตมากล้นเกินความต้องการใช้ในประเทศอยู่แล้ว ได้แก่ เหล็กเส้น และเหล็กแผ่นรีดร้อน และบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ควบคุมคุณภาพส่วนประกอบ ของสินค้าโครงสร้างสำเร็จรูป

และขอให้กระทรวงพาณิชย์ เร่งไต่สวนและบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล และหากพบพฤติกรรมหลบเลี่ยงมาตรการ AD ก็ต้องใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (Anti-Circumven tion : AC) อย่างทันท่วงที รวมทั้งไต่สวนและใช้มาตรการ ตอบโต้ การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) สำหรับสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐของประเทศผู้ส่งออก

พิจารณาความจำเป็นในการใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard : SG) ดังที่ประเทศเน้นการค้าเสรีอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ใช้กับสินค้าเหล็กทุกประเภท ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา และปรับปรุง/แก้ไข พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดฯ ให้มีการบังคับใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง (AC) ได้มีประสิทธิผลและทันการณ์ยิ่งขึ้น

รวมทั้งขอให้รัฐบาลได้ขับเคลื่อนขยายผลใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตภายในประเทศสำหรับการก่อสร้างอื่นๆ ได้แก่ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐ (Public–Private Partnerships : PPPs) การก่อสร้างโรงงานต่างๆ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

นาวา จันทนสุรคน
นาวา จันทนสุรคน

ด้าน “นาวา จันทนสุรคน” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และผู้แทนกลุ่ม 10 สมาคม เหล็กของไทย ประกอบด้วย 1.สมาคมโลหะไทย 2.สมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย 3.สมาคมเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย 4.สมาคมผู้ผลิตเหล็กทรงยาวด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า 5.สมาคมการค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี 6.สมาคมพัฒนาสเตนเลสไทย 7.สมาคมหลังคาเหล็กไทย 8.สมาคมการชุบสังกะสีไทย 9.สมาคมผู้ผลิตท่อฯ และ 10.สมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

โดยมีสมาชิกรวมกัน 510 บริษัท กล่าวย้ำว่า ทุกวันนี้เหล็กจีนได้ทะลักเข้ามาตลาดประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทั้งในพฤติกรรมการทุ่มตลาด (Dumping) การอุดหนุน (Subsidies) และการหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า (Circumvention)

“ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเหล็กของไทยซึ่งมีการจ้างงานทั้งระบบกว่า 330,000 คน ได้รับผลกระทบรุนแรง จนบางโรงงานต้อง ปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน”.

เจริญสุข ลิมป์บรรจงกิจ

คลิกอ่านคอลัมน์ "THE ISSUES" เพิ่มเติม


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ