“มนัญญา” เปิดเกม 3 สารพิษใหม่

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

“มนัญญา” เปิดเกม 3 สารพิษใหม่

Date Time: 21 ก.พ. 2563 05:30 น.

Summary

  • น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้นัดประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาข้อเสนอของกระทรวงเกษตรฯ

Latest

“ไฮแอท รีเจนซี่ฯ” ขานรับเทรนด์ Gastronomy Tourism หยิบทุเรียนหมอนทอง จัดแคมเปญ ชุดน้ำชายามบ่าย

ยกร่างกฎกระทรวงโรงงานผลิตต้องได้มาตรฐาน ISO

น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้นัดประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาข้อเสนอของกระทรวงเกษตรฯ ที่ยกร่างประกาศกระทรวงเกษตรฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ ออกตามความ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มีสาระสำคัญกำหนดให้สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายหรือโรงงานผลิต ต้องได้การรับรองระบบมาตรฐานบริหารคุณภาพ ISO 9001 และได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 โดยต้องมีห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 ด้านการวิเคราะห์วัตถุอันตรายจากสถาบันการตรวจรับรองมาตรฐาน โดยหน่วยงานมาตรฐานในประเทศไทย ยกเว้นสถานที่ผลิตสารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืช สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตวัตถุอันตรายอยู่ก่อนแล้วให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นเวลาอีก 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานที่ผลิตวัตถุอันตราย ที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตวัตถุอันตรายที่ถูกจำกัดการใช้

สำหรับร่างประกาศกระทรวงดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรได้จัดทําการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกรมระหว่างวันที่ 27 ม.ค.-12 ก.พ.63 รวม 15 วัน มีผู้ให้ความเห็น 10,258 คน ในจำนวนนี้ 9,590 คน หรือ 93.49% เห็นด้วย และที่เหลือ 668 ราย หรือ 6.51% ไม่เห็นด้วย

“ขณะนี้มีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนมีอยู่ทั้งสิ้น 143 โรงงาน หากคณะกรรมการวัตถุอันตรายเห็นชอบตามยกร่างประกาศกระทรวงเกษตรฯนี้ กรมวิชาการเกษตรสามารถดำเนินการตามยกร่างได้เลย ซึ่งโรงงานที่ไม่สามารถปรับปรุงได้ตามมาตรฐาน ISO ที่กำหนด จะไม่มีสิทธิ์ผลิตสารเคมีทางการเกษตรเพื่อจำหน่ายอีกต่อไป ส่วนผลจากการสำรวจสต๊อก เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พบว่ามีทั้งสิ้น 22,534.70 ตัน แบ่งเป็น พาราควอต 10,234.92 ตัน ไกรโฟเซต 10,583 ตัน และคลอร์ไพริฟอส 1,716 ตัน”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ