งานหัตถศิลป์ สร้างแรงบันดาลใจ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ระดับสากล

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

งานหัตถศิลป์ สร้างแรงบันดาลใจ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ระดับสากล

Date Time: 23 ก.ย. 2561 15:21 น.

Video

กว่าจะมาเป็น “SC Asset” มองธุรกิจขายบ้านเมืองไทย ผ่านเลนส์ “ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์” | On The Rise EP.16

Summary

  • ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย วัฒนธรรมร่วม จาก 10 ครูช่างและทายาท พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ สู่เชิงพาณิชย์...

Latest


ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย วัฒนธรรมร่วม จาก 10 ครูช่างและทายาท พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์ สู่เชิงพาณิชย์...

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT กล่าวว่า ได้เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มงานหัตถกรรมใกล้สูญหาย ซึ่งเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตามท้องถิ่นหรือชุมชนในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และได้รับผลกระทบจากกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 4 แล้ว

สำหรับปีนี้มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงบูรณาการ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรที่สนับสนุนและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมในภูมิภาคเอเชีย โดยนำการพัฒนางานหัตถกรรมประเภทเครื่องจักสาน มาเป็นแนวคิดการทำงานหลัก ประจำปี 2561 ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจาก 2 ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ หน่วยงานพัฒนางานวิจัยและการออกแบบงานหัตถกรรมจากสาธารณรัฐไต้หวัน และองค์กรสนับสนุนและพัฒนางานหัตถกรรมท้องถิ่นจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาและพัฒนางานหัตถกรรมจักสานให้เกิดมีมูลค่าเพิ่มจนสามารถพัฒนาสู่ตลาดสากลได้

ทั้งนี้ได้แบ่งผู้เข้าร่วมโครงการออกเป็น 2 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ที่ผ่านการคัดสรรจากคณะกรรมการว่ามีคุณวุฒิและคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งสิ้นกลุ่มละ 5 ราย เดินทางไปพบปะและศึกษาวิธีการผลิตชิ้นงานจักสาน เช่น เทคนิคการสาน การย้อมสี การขึ้นรูปและการประกอบรูปทรงที่แตกต่างกับงานหัตถกรรมจักสาน

ตลอดจนได้ลงมือผลิตชิ้นงานตามแนวทางของศิลปินท้องถิ่นที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จักสานของตนเองสู่เชิงพาณิชย์ จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมในวัฒนธรรมร่วม ประจำปี 2561 กว่า 20 ชิ้นงาน จาก 10 ครูช่างศิลปหัตถกรรมและทายาทช่างศิลปหัตถกรรมจากหลายพื้นที่ ซึ่งนิทรรศการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมในวัฒนธรรมร่วม เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 17-23 ก.ย. 2561 ณ บริเวณชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ