Thairath OnlineThairath PlusThairath SportThairath TVMIRROR
InvestmentPersonal FinanceEconomicsBusiness & MarketingTech & InnovationSustainabilityExperts PoolVideosPR News
เจาะข้อมูลร้านอาหารในไทย ยุคต้นทุนพุ่ง กดดันกำไร ร้านแบบไหนจะฟื้นตัวได้ก่อน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เจาะข้อมูลร้านอาหารในไทย ยุคต้นทุนพุ่ง กดดันกำไร ร้านแบบไหนจะฟื้นตัวได้ก่อน

Date Time: 11 ก.ย. 2566 14:21 น.

Video

คนขอกู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน "รายได้คนไทย" โตไม่ทัน "ราคาบ้าน" | Money Issue

Summary

  • หากเอ่ยถึง “ธุรกิจร้านอาหาร” นับเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ทำให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก และยังมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่ม GDP ให้กับประเทศด้วยเช่นกัน

แต่แน่นอนว่าเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในปี 2563-2564 มูลค่าตลาดร้านอาหารหดตัวลง 20.1% และ 8.9% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

แต่เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ธุรกิจร้านอาหารต่างได้รับอานิสงส์ฟื้นตัวตามเช่นกัน เนื่องจากผู้คนกลับมาดำเนินชีวิตเป็นปกติมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 เติบโตขึ้นราว 17.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าประมาณ 5.7 แสนล้านบาท 

โควิด-19 บรรเทาตลาดร้านอาหารมีโอกาสโตต่อเนื่อง

ด้าน Krungthai COMPASS ประเมินว่าตลาดร้านอาหารในประเทศไทยปี 2566-2567 จะเติบโตราว 7.8% และ 5.8% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 6.2 และ 6.5 แสนล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศที่จะทยอยฟื้นตัวดีขึ้น จากการที่ผู้คนเริ่มกลับมาใช้บริการร้านอาหารเป็นปกติมากขึ้น รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566-2567 ที่คาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องเป็น 29.0 และ 35.5 ล้านคน ตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่าตลาดร้านอาหารในปี 2566 จะยังคิดเป็น 92% ของช่วงก่อนโควิด (ปี 2562) เนื่องจากร้านอาหารบางกลุ่ม เช่น ภัตตาคาร สวนอาหาร ยังฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า ขณะที่ในปี 2567 มูลค่าตลาดโดยรวมจะกลับมาใกล้เคียงปี 2562 โดยเฉพาะกลุ่ม Street Food และร้านอาหารที่อยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ร้านอาหารแบบไหนจะฟื้นตัวได้ก่อน

หากแบ่งประเภทร้านอาหารออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 

1) ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service) 

2) ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service) 

3) ร้านอาหารข้างทาง (Street Food)

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาด้านมูลค่าแล้วพบว่า ก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 (ปี 2562) ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) มีมูลค่ามีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคิดเป็น 45% มีมูลค่าประมาณ 3.0 แสนล้านบาท ตามมาด้วยร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ หรือ Full Service มีส่วนแบ่งตลาด 28% มีมูลค่าประมาณ 1.9 แสนล้านบาท และสุดท้ายคือ ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service) ที่มีส่วนแบ่งตลาด 27% และมีมูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเจอวิกฤติโควิด-19 ร้านอาหาร Full Service มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าที่สุด โดยในปี 2565 มูลค่าตลาดร้านอาหารกลุ่ม Full Service ฟื้นตัวได้เพียง 71% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากปัจจุบันผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการใช้บริการสั่งอาหารทาง Delivery รวมถึงเป็นกลุ่มที่มีราคาอาหารที่สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ 

ขณะที่กำลังซื้อโดยรวมที่ยังค่อนข้างเปราะบาง ขณะที่ร้านอาหารประเภท Limited Service มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีที่สุด โดยในปี 2565 ฟื้นตัวได้ถึง 94% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 (ปี 2562) โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากบรรยากาศด้านการท่องเที่ยวของทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยที่กลับคึกคัก ตามมาด้วยร้านอาหารข้างทาง หรือ Street Food ซึ่งในปี 2565 ฟื้นตัวขึ้นมาเคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้วถึง 90% โดยได้รับอานิสงส์จากการที่วิถีชีวิตของผู้บริโภคกลับมาเป็นปกติมากขึ้น 

ต้นทุนพุ่ง กดดันกำไรท่ามกลางมรสุมการแข่งขัน

ธุรกิจร้านอาหารเป็นอีกหนึ่งธุรกิจอันดับต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนหลักปรับตัวสูงขึ้นพร้อมๆ กัน ในช่วง 1-2 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะยืนสูงในระยะข้างหน้า ทั้งจากค่าวัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า และค่าก๊าซหุงต้ม สะท้อนจากดัชนีราคาอาหารสด และพลังงาน ที่เร่งตัวขึ้น 13.4% ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนในปี 2565 โดยดัชนีราคาอาหารสดเพิ่มขึ้นจาก 100.7 ในปี 2564 เป็น 107.6 คิดเป็น 6.8% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นเป็น 123.2 จากที่ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 99.0 เพิ่มขึ้น 24.5% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน

และแม้ในปี 2566 ดัชนีราคาอาหารสดและพลังงานจะเริ่มชะลอตัวลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะยืนสูงต่อไปในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า และแม้ว่าต้นทุนบางส่วนจะสามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้บ้างโดยการขึ้นราคาอาหาร แต่ยังคงทำได้อย่างจำกัด เนื่องจากกำลังซื้อที่เปราะบาง ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย ประกอบกับผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และยังอาจถูกซ้ำเติมจากแนวโน้มค่าแรงที่อาจเพิ่มขึ้นจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และนโยบายภาครัฐ 

ซึ่งหากพิจารณาจากค่า HHI Index ที่เป็นดัชนีที่ใช้วัดการกระจุกตัวของธุรกิจ จะพบว่า ธุรกิจร้านอาหารมีค่าดัชนี HHI เพียง 120 เท่านั้น สะท้อนว่าธุรกิจร้านอาหารมีการแข่งขันที่สูงมาก สอดคล้องกับข้อมูลจาก LINE MAN Wongnai ที่ระบุว่า ในช่วงครึ่งปีแรก 2566 ร้านอาหารในไทยมีจำนวนกว่า 6.8 แสนร้านค้า เติบโตกว่า 13.6% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และนั่นยิ่งเป็นการตอกย้ำว่ายังมีผู้ประกอบการหลั่งไหลเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์