ทำธุรกิจยุคนี้ แค่ปรับตัวไวคงไม่พอ เพราะอะไรๆก็เปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด ไม่เว้นแม้แต่พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง!! ผลการสำรวจ “Global Consumer Insights Pulse Survey” ของ PwC ที่วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 9,000 ราย ใน 25 ประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อธุรกิจที่เปลี่ยนไปอย่างมากในยุคหลังโควิด ถ้าอยากครองใจผู้บริโภคยุคใหม่ จึงต้องรู้ใจและเข้าใจความต้องการของคอนซูเมอร์อย่างแท้จริง

“ผู้บริโภคยึดติดกับพฤติกรรมเดิมๆน้อยลง” PwC พบว่า 50% ของผู้บริโภคชาวไทย เปลี่ยนมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ขณะที่ 24% เปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกรายใหม่ๆที่ไม่ได้เป็นลูกค้าประจำ นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังไม่ยึดติดกับการจับจ่ายสินค้ากับร้านค้าหรือช่องทางเดิมๆ โดยมากกว่า 80% ของผู้บริโภคชาวไทย จะซื้อสินค้าจากอย่างน้อย 3 ช่องทาง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ 47% ใช้เว็บไซต์เปรียบเทียบเพื่อดูว่า มีสินค้าที่พวกเขาต้องการหรือไม่ และ 30% ซื้อสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ของที่ต้องการ ในยุคผู้บริโภคหลายใจเช่นนี้ การทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ จะเป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ขณะที่การลงทุนด้าน Data เพื่อทำความเข้าใจถึงความ ต้องการของลูกค้าในเชิงลึก จะช่วยให้แบรนด์ส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่าง และเพิ่มความจงรัก ภักดีที่มีต่อแบรนด์
...

“แบรนด์ท้อง ถิ่นได้รับความนิยม เพิ่มขึ้น” ผู้บริโภคกำลังหันกลับมาซื้อหาสินค้าและบริการจากแบรนด์ท้องถิ่นมากขึ้น การแพร่ระบาด ของโควิดย้ำเตือนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการพึ่งพาสินค้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้ “กระแสท้องถิ่นนิยม” และ “การหันมาพึ่งพาผลผลิตภายในภูมิภาค” ได้รับความนิยมในวงกว้าง PwC พบว่า 8 ใน 10 ของผู้บริโภคชาวไทย ยอมจ่ายเพิ่มเพื่อซื้อสินค้าที่ผลิตภายในท้องถิ่น โดย 60% มองว่า ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และ 42% มองว่า ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมีคุณภาพไม่แพ้สินค้าจากต่างประเทศ แถมมีระยะเวลาในการจัดส่งรวดเร็วกว่า

“พิชิตใจผู้บริโภคด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม กลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคชาวไทย ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่แสดงความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น PwC พบว่า 44% ของผู้บริโภค คำนึงว่าธุรกิจนั้นๆมีธรรมาภิบาลที่ดีหรือไม่ ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือรับบริการ, 42% พิจารณาเรื่องปัจจัยด้านสังคม และ 30% ใส่ใจปัจจัยสิ่งแวดล้อม ธุรกิจที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบและความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่นอย่างจริงใจ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค มากกว่าธุรกิจที่มุ่งเน้นแต่การทำกำไร.


...


