เพิ่งเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา: Joint Boundary Commission (JBC) ครั้งที่ 6 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 68 ที่ผ่านมา หลังเกิดความตึงเครียดของ 2 ประเทศเป็นเวลานานกว่าครึ่งเดือน

แม้การเจรจาทางเทคนิคจะผ่านไปได้เรียบร้อย แต่ดูเหมือนว่านอกวงเจรจาจะไม่สวยงามมากนัก เพราะทางฝั่งกัมพูชา ชิงประกาศว่าไทยยอมรับแผนที่ 1:200,000 ก่อนทางการไทยจะตอบโต้กลับว่าไม่มีการเจรจาเรื่องนี้ และแสดงความผิดหวังต่อท่าทีของกัมพูชาด้วย แสดงออกถึงจุดยืนที่แตกต่างกันของทั้ง 2 ประเทศ
สำหรับ “กัมพูชา” ประกาศชัดเจนว่า ต้องการให้มีบุคคลที่ 3 คือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก (ICJ) มาตัดสินปัญหาชายแดนระหว่าง 2 ประเทศ แม้จะมีกรอบการเจรจา JBC แต่กัมพูชาไม่เชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่ทางออกได้ โดยเตรียมยื่น 4 พื้นที่พิพาทไปยังศาลโลก ได้แก่ สามเหลี่ยมมรกต, ปราสาทตาเมือนธม, ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาควาย โดยกัมพูชา ยังยึดแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ยึดตามแผนที่ของฝรั่งเศสในยุคอาณานิคม
...
ขณะที่ “ประเทศไทย” ยังเชื่อมั่นในกลไกการเจรจาแบบทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่ 3 และไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก ไม่สนับสนุนการที่กัมพูชายื่น 4 พื้นที่พิพาทไปให้ศาลโลกพิจารณา พยายามใช้การหารือผ่านวง JBC เพื่อหาทางออก และใช้แผนที่ตามมาตราส่วน 1:50,000 ยึดหลักสันปันน้ำ ฝ่ายการเมืองพยายามย้ำแนวทางการเดินหน้าด้วยสันติวิธี (อ่านเพิ่มเติม : สมช. นัดถกด่วน ท่าทีของกัมพูชา ปัด "เจบีซี" ไร้ข้อสรุป เขมรชิงยื่นศาลโลก)