จากคลิปลับ นายกฯอิ๊งค์ สู่สัจธรรม ไม่มีมิตรแท้ - ศัตรูถาวร บทเรียนโลกการเงิน มีแต่ ROI ที่ต้องชนะ

Personal Finance

Wealth Management

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

จากคลิปลับ นายกฯอิ๊งค์ สู่สัจธรรม ไม่มีมิตรแท้ - ศัตรูถาวร บทเรียนโลกการเงิน มีแต่ ROI ที่ต้องชนะ

Date Time: 19 มิ.ย. 2568 12:00 น.

Video

ลงทุนหุ้นนอกง่าย ๆ ผ่าน DR เทรดได้ทั้งวันทั้งคืน! | Money Issue EP.37

Summary

  • จากคลิปลับ นายกฯอิ๊งค์ - อังเคิลฮุนเซน ปมเขตแดน ไม่มีมิตรแท้ - ศัตรูที่ถาวร สู่บทเรียนของโลกการเงิน ที่ "ความสัมพันธ์" ไม่เคยแทน "ผลตอบแทน" ได้เลย

Latest


เมื่อผลประโยชน์ คือเดิมพัน “ความสัมพันธ์” ก็อาจไม่ใช่หลักประกัน 

คำกล่าวนี้คงไม่เกินความจริงที่เกิดขึ้นในโลกของการเมืองไทย ณ เวลานี้ เมื่อคลิปสนทนาลับ ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย “แพทองธาร ชินวัตร” กับอดีตนายกฯ กัมพูชา “ฮุน เซน” ถูกเผยแพร่โดยสำนักข่าวของกัมพูชาเอง จุดไฟให้เกิดกระแสการเมืองเดือดระอุขึ้นทันทีในประเทศไทย

ในคลิปดังกล่าว ปรากฏถ้อยคำอันอ่อนน้อมคล้ายการพูดคุยแบบ “ลุง–หลาน” มากกว่าการเจรจาระหว่างตัวแทนรัฐต่อรัฐ ถึงปมข้อพิพาทชายแดนช่องบก 

“ถ้าอยากได้อะไร บอกอิ๊งค์ได้เลย”

“ขอลุงอย่าไปฟังแม่ทัพภาคที่ 2 … คนไม่หวังดีกับเราทั้งคู่”

นำมาซึ่งการลุกฮือครั้งใหญ่ในความรู้สึกของคนไทย พร้อมตั้งคำถามถึงสถานะของ “แพทองธาร” ว่าตกลงเป็นนายกฯ ของคนไทย หรือ หลานของอังเคิลฮุนเซนกันแน่! 

โดยฝ่ายการเมือง ประชาชนคนไทย ประกาศเรียกร้องให้ นายกฯแพทองธาร แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก หรือ ยุบสภาทันที 

แม้นายกฯและทีมรัฐบาล จะออกมาแถลง ว่าการเจรจาพูดคุย2ฝ่ายดังกล่าว เป็นเพียงเทคนิคในการเจรจา จุดมุ่งหมายเพียงต้องการรักษาไว้ ซึ่งความสงบสุขของบ้านเมืองและรักษาอธิปไตยของไทย โดยไม่ให้เกิดสงคราม 

ความซอฟต์และความนุ่มนวล พูดคุยเชิงลุงกับหลานนั้น เป็นเรื่องปกติ คล้ายคุยกับผู้ใหญ่ พร้อมยืนยัน ว่าส่วนตัวไม่มีปัญหาอะไรกับ แม่ทัพภาคที่ 2 หลังปรากฎท่อนสนทนาเชิงตำหนิ ท่าทีแข็งกร้าวของแม่ทัพภาคที่ 2 

เมื่อคลิปลับการเมือง กลายเป็น “เครื่องมือ”

ความจริงอีกด้านที่ทำให้เรื่องนี้ยิ่งร้อนแรง คือการที่ “ฮุน เซน” ยอมรับว่า ได้ส่งคลิปดังกล่าวให้คนใกล้ชิดกว่า 80 คน ก่อนที่มันจะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ นั่นเท่ากับว่า มิตรภาพแบบลุงหลานที่ไทยวางใจ กลับถูกอีกฝ่ายใช้เป็น “ไพ่” ทางการเมืองอย่างเฉียบคม 

นี่ก็อาจสะท้อนได้ว่า ในเกมที่เดิมพันคือ “เขตแดน” และ “อำนาจต่อรองระหว่างประเทศ” ความสัมพันธ์ไม่ใช่หลักประกัน เพราะเมื่อผลประโยชน์คือเดิมพัน ความไว้ใจอาจเป็นแค่จุดอ่อนให้คู่เจรจาหงายไพ่ตลบหลังได้ทุกเมื่อ

เช่นเดียวกับกรณี พรรคภูมิใจไทย ที่ประกาศถอนตัวจากรัฐบาลซบช่อง นายกฯเจนY เพลี่ยงพล้ำครั้งใหญ่ สะท้อนสัจธรรม การเมืองไทย 

ในโลกธุรกิจและการเงิน  ทุกอย่างวัดกันที่ “คุ้มไหม?”

เหตุการณ์นี้ ไม่ต่างอะไรกับกลไกบางอย่างที่เกิดขึ้นเป็นประจำในโลกของ “ธุรกิจ” และ “การเงิน” โต๊ะเจรจาไม่เคยเป็นเวทีสำหรับคนซื่อสัตย์ที่สุด แต่เป็นสนามของคนที่ ถือไพ่ดีที่สุด

หาก Loyalty หมายถึง ความภักดี ความจงรักภักดี เช่น ซื่อสัตย์กับแบรนด์เดิม คนเดิม หุ้นตัวเดิม

และ ROI (Return on Investment) คือ  ผลตอบแทนจากการลงทุน คือเราลงทุนอะไรไป แล้วได้กลับคืนมาเท่าไหร่ คุ้มไหม?

เพราะในโลกของการเงินนั้น ไม่มี Loyalty มีแต่ ROI ที่ต้องชนะเทียบความให้เห็นภาพ คล้ายกับการทำงานของนักลงทุน  ที่ถ้ารักหุ้นตัวหนึ่งมาตลอด แต่ถ้าเริ่มไม่เติบโต หรือบริษัทเริ่มขาดทุน นักลงทุนมืออาชีพ จะขายทันที ไม่ได้ "ภักดี" เพราะเงินต้องเติบโต 

หรือ กรณีลูกค้า เคยซื้อแบรนด์นี้มาโดยตลอด เพราะชอบ แต่วันหนึ่งเจอแบรนด์ใหม่ ถูกกว่า / คุณภาพดีกว่า / บริการไวกว่า ก็พร้อมจะย้ายไปซบทันที เพราะ Loyalty สู้ “ความคุ้มค่า” ไม่ได้

หรือ ในโลกของธุรกิจ บริษัทเคยร่วมมือกับซัพพลายเออร์เจ้าเดิมมาตลอด แต่ถ้ามีเจ้าใหม่เสนอราคาดีกว่า ต้นทุนต่ำกว่าความสัมพันธ์ก็ไม่สำคัญเท่า "Margin ที่เพิ่มขึ้น"

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะในโลกการเมือง หรือในโลกธุรกิจ ความสัมพันธ์เป็นเพียงเครื่องมือแต่ "ผลประโยชน์" คือเข็มทิศที่ทุกคนมองหา

อย่าคาดหวังว่าความใกล้ชิด จะซื้อ “ความไว้ใจ” ได้ตลอดไป เพราะบางครั้ง คนที่ยิ้มให้เราบนโต๊ะเจรจา…ก็อาจเป็นคนเดียวกับที่หงายไพ่ใส่เราเมื่อถึงเวลา ยิ่งในเกมที่มีเดิมพันสูง  ทั้ง “อำนาจรัฐ” และ “ผลกำไร” ผู้รอดคือคนที่ไม่แค่จริงใจแต่ต้องกล้าเจรจาในจังหวะที่ได้เปรียบ และรู้ว่าเมื่อไรควรวางไพ่ และเมื่อไรควรซ่อนไว้

ย้อนกลับ หากความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ เป็นเพียง "กลยุทธ์" บนกระดานผลประโยชน์ คำถามที่ควรถามในฐานะประชาชนก็คือ...เราเสียอะไรไปแล้วบ้าง โดยที่ไม่เคยได้อยู่ในวงเจรจานั้นเลย? คล้ายว่า ชีวิตของประชาชนธรรมดาอย่างเราๆ นี่แหละ คือ สิ่งเดิมพัน … 

อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ