ผู้อ่านหลายท่านคงได้เห็นเรื่องราว ‘กำแพงกันคลื่น’ ในประเทศไทย ที่มีจำนวนโครงการมหาศาลและงบประมาณแต่ละปีสูงลิ่วผ่านตามาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2556 ที่รัฐบาลในยุคนั้นมีมติเพิกถอน EIA ออกจากการสร้างกำแพงกันคลื่น ทำให้งบประมาณขยับจากหลักสิบไปถึงหลักร้อยล้าน และแตะพุ่งสูงถึง 1,261 ล้านบาทในปี 2564การต่อสู้ถกเถียงเรื่องว่า ‘กำแพงกันคลื่น’ เป็นการก่อสร้างที่ส่งผลดีหรือผลร้ายกับชายหาดกันแน่ดำเนินมายาวนาน จนในที่สุดกลางปี 2566 กระทรวงทรัพย์ฯ ได้ออกประกาศให้การสร้าง ‘กำแพงกันคลื่น’ ทุกขนาด ต้องทำ EIA นั่นแปลว่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ไม่สามารถอ้างเพียงว่า ‘จำเป็น เร่งด่วน ท้องถิ่นร้องขอมา’ ตั้งงบ แล้วสร้างกำแพงกันคลื่นได้ง่ายๆ ดังที่ผ่านมาอีกแล้วอย่างไรก็ดี ประเด็นที่อยากนำเสนอในวันนี้ คือเรื่องของ ‘กำแพงกันคลื่น’ 2 โครงการในจังหวัดระยอง ที่กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ของบประมาณไว้ก่อนประกาศของกระทรวงทรัพย์ฯ (หมายความ 2 โครงการนี้ไม่ต้องทำ EIA เพราะประกาศดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับย้อนหลัง) ได้แก่1. หาดสนกระซิบ จ.ระยอง- ชื่อโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายหาดหนองแฟบและหาดสนกระซิบ ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง- ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง- ความยาว 890 เมตร- มูลค่าโครงการ 59,375,000 บาท- สัญญาจ้างเลขที่ 43/2565 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564- เริ่มสัญญา 30 พฤศจิกายน 2564 สิ้นสุดสัญญา 30 ตุลาคม 25662. หาดดวงตะวัน จ.ระยอง- ชื่อโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 3 หาดดวงตะวัน ตำบลแกลง จังหวัดระยอง- ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง- ความยาว 820 เมตร- มูลค่าโครงการ 77,760,000 บาท- สัญญาจ้างเลขที่ 42/2565 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564- เริ่มสัญญา 30 พฤศจิกายน 2564 สิ้นสุดสัญญา 30 ตุลาคม 2566ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ สัญญาการก่อสร้างของ 2 โครงการนี้ ได้หมดไป 2 ปีแล้ว แต่กลับก่อสร้างไม่เสร็จ โดยเฉพาะที่หาดสนกระซิบ ที่ผู้รับเหมาได้ก่อสร้างไปบางส่วนแล้ว โดยอกเสาเข็มไว้บนชายหาดตั้งแต่ปี 2565 และทิ้งงานไป ทำให้สภาพชายหาดขณะนี้มีวัสดุก่อสร้างกระจัดกระจายเกลื่อนชายหาด และเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวอีกด้วยส่วนที่หาดดวงตะวันยังไม่มีการก่อสร้างใดๆ มีเพียงป้ายโครงการที่ติดไว้ในสภาพหลุดพังเสียหายเราอาจต้องขีดเส้นใต้ตัวโตๆ ไว้ว่า ผู้รับจ้างก่อสร้างทั้ง 2 โครงการนี้ ‘เป็นบริษัทเอกชนรายเดียวกัน’ด้านกลุ่ม Beach for life ระบุว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนว่าโครงการดังกล่าวนั้น ผู้รับเหมาได้ทิ้งงานไป และกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้มีหนังสือไปยังผู้รับเหมาแล้ว‘กำแพงกันคลื่น’ จำเป็นแค่ไหน เร่งด่วนอย่างไร?จากเหตุการณ์ข้างต้น กลุ่ม Beach for life ได้เข้ายื่นหนังสือผ่าน นายกฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง เพื่อให้กรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ ตรวจสอบโครงการกำแพงกันคลื่นหาดสนกระซิบ และหาดดวงตะวัน จังหวัดระยอง ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง หลังพบว่า ผู้รับเหมาทิ้งงานมาแล้ว 2 ปีหลังหมดสัญญาจ้างอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานกลุ่ม Beach for life ได้แถลงข้อมูลและตั้งข้อสังเกตไว้ว่า1. ระหว่างที่โครงการประเภทกำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA ทำให้เกิดโครงการกำแพงกันคลื่น 125 โครงการ ใช้งบกว่า 8,400 ล้านบาท โดยโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ที่สร้างไม่เสร็จนี้ เป็นหนึ่งใน 125 โครงการที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าวในการก่อสร้าง2. กรมโยธาธิการและผังเมือง อ้างความจำเป็นเร่งด่วนว่า ‘มีการกัดเซาะรุนแรง จึงต้องสร้างกำแพงกันคลื่น’ แต่ปรากฏว่า ผู้รับจ้างทิ้งงาน และตลอดช่วงเวลาที่ทิ้งงานนับตั้งแต่ผูกพันสัญญาจ้างนั้น ข้อมูลอัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ปี 2565-2567 ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า ชายหาดทั้งสองแห่งนั้น ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง การกัดเซาะชายฝั่งอยู่ในระดับต่ำ และบางช่วงมีการงอกสะสมสะท้อนให้เห็นว่า โครงการกำแพงกันคลื่นทั้งสองพื้นที่นั้น หมดความจำเป็นในการดำเนินโครงการแล้ว เนื่องจากหาดไม่กัดเซาะชายฝั่งแล้ว3. โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น โดยกรมโยธาฯ ยังปรากฏว่า มีความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น ทำให้ชายหาดหายไป เกิดการกัดเซาะต่อเนื่อง หรือบางโครงการป้องกันชายฝั่งไม่ได้ เป็นต้น และปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้โครงการกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA ทุกขนาดแล้วนั้น4. การที่กรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะเจ้าของโครงการ ปล่อยให้เกิดการทิ้งงาน และพบว่าชายหาดบริเวณดังกล่าวไม่กัดเซาะรุนแรง หรือ ฟื้นคืนสภาพไปแล้ว เป็นการส่อพิรุธถึงความไม่โปร่งใสในการดำเนินโครงการของรัฐ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบอย่างใกล้ชิด และไม่ปล่อยให้เกิดการใช้กำแพงกันคลื่นมาทำลายชายหาดได้อีกด้านนายกฤช ศิลปชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง กล่าวหลังจากรับเรื่องร้องเรียนว่า“ได้รับทราบว่าโครงการกำแพงกันคลื่นหาดสนกระซิบ และ หาดดวงตะวัน โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากผู้รับจ้างนั้นทิ้งงานไป“และจากที่ฟังผู้ร้องนั้น เมื่อโครงการดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง สภาพชายหาดปัจจุบันไม่ได้มีการกัดเซาะชายฝั่งอีกต่อไปแล้วจึงไม่มีเหตุผลและความจำเป็นในการสร้างกำแพงกันคลื่นอีกและเห็นควรให้จัดให้มีการตรวจสอบเพื่อดำเนินการในการหามาตรการที่เหมาะสมกับพื้นที่”“นอกจากนี้ในประเด็นของผู้รับจ้างในโครงการนี้ยังพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองในรัฐบาลด้วย หรือไม่? จึงต้องติดตามตรวจสอบโครงการนี้อย่างใกล้ชิด และจะนำเรื่องประสานกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณเพื่อให้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ร้องเข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป”