วันที่ 1 มิถุนายน 2565 จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data protection act : PDPA) เต็มรูปแบบ หลังก่อนหน้านี้ต้องเลื่อนมาหลายปี แต่อีกด้านนึง ก็เกิดข้อวิตกกังวลของประชาชน ที่มองว่าอาจเป็นการล้วงลูก เพื่อตรวจสอบข้อมูลบุคคล ที่เห็นต่างจากรัฐบาล ขณะที่องค์กรธุรกิจ จะต้องปรับเปลี่ยนระบบความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับผู้ใช้บริการ เพราะบทลงโทษทางกฎหมาย ค่อนข้างรุนแรง จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ให้รู้เท่าทันกฎหมายฉบับนี้

  • พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการสร้างกรอบ การเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ที่ผู้ให้บริการต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง หากข้อมูลรั่วไหล ผู้ประกอบการมีความผิด โดยลูกค้าหรือผู้ค้า เรียกร้องความเสียหายได้ ทั้งแพ่งและอาญา

  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่คุ้มครอง เช่น ชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, อีเมล, เลขบัตรประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, ข้อมูลการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, น้ำหนัก ส่วนสูง, ข้อมูลการแพทย์, ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า, ข้อมูลม่านตา และอื่นๆ

  • ผู้ใช้บริการสามารถเรียกร้องให้ลบ หรือทำลาย ข้อมูลของตนเองได้ เจ้าของข้อมูลสามารถเรียกร้องให้แก้ไขข้อมูลตนเองอย่างถูกต้องได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด โดยเป็นไปเพื่อความสุจริต ไม่ขัดกับหลักของกฎหมาย

...

  • “กำพล โชคสุนทสุทธิ์” นายกสมาคม ไทยไอโอที มองว่า กฎหมายฉบับนี้ คุ้มครองผู้บริโภค หากรัฐมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ ประชาชนสามารถฟ้องร้องได้ จึงไม่ต้องกังวล กรณีที่อาจมีการแอบนำข้อมูลไปใช้

  • หลังจากนี้ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ จะมีการให้กดยอมรับ “คุกกี้” เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน หากไม่ยอมรับ ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิเก็บข้อมูล หากพบว่ามีการล่วงละเมิดสามารถฟ้องได้ตามกฎหมาย

  • กฎหมายนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านไอที ที่มีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ และอุปกรณ์ไอทีต่างๆ เช่น กล้องวงจรปิด อาจมีความผิดได้ กรณีที่เก็บข้อมูลใบหน้าของบุคคล หรือส่งข้อมูลใบหน้า ไปเพื่อการค้าหรือวิจัย

  • แม้มีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว แต่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลางของไทย ยังปรับตัวช้า ในการจัดการฐานข้อมูล เพื่อไม่ให้ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องตามมา หากภาครัฐไม่มีการช่วยเหลือ

  • ที่ผ่านมามีการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านอุปกรณ์ไอทีของบางประเทศ กฎหมายฉบับนี้จะคุ้มครองผู้บริโภค จากการแอบเก็บข้อมูล และนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างประเทศ โดยผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องบริษัทข้ามชาติได้

  • บทลงโทษทางแพ่ง ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ไม่เกิน 2 เท่า ของสินทรัพย์ที่แท้จริง ส่วนโทษอาญา มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 5 แสนบาท ส่วนกรณีแสวงหา โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท
  •  “ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร” เลขาธิการสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เป็นห่วงการใช้กฎหมาย โดยเฉพาะตำรวจ ยังไม่มีความรู้ในกฎหมายนี้มากนัก อาจทำให้การดำเนินคดี ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือจะส่งผลกระทบกับประชาชนได้

  • ภาครัฐควรมีการประชาสัมพันธ์กฎหมาย ให้ประชาชนได้รับทราบ เพราะหลังจากประกาศใช้ จะมีผู้ที่ถูกล่วงละเมิดในข้อมูลส่วนบุคคลแบบไม่รู้ตัว ส่วนผู้ประกอบการต้องปรับปรุงฐานข้อมูลลูกค้า ให้รองรับกับกฎหมายใหม่.