สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 67 วัยต้น อายุ 60-69 ปี เพิ่มสูงขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติ วิเคราะห์ คนวัยทำงาน 100 คน ต้องรับผิดชอบดูแลผู้สูงอายุ 31 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงต่อเนื่อง หากไม่มีการเตรียมพร้อม อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุในสังคมไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ วิเคราะห์แนวโน้ม ดัชนีผู้สูงอายุ อัตราส่วนสูงวัยช่วงต้น อายุ 60-69 ปี เพิ่มสูง โดยดัชนีการสูงอายุของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราส่วนพึ่งพิงวัยสูงอายุ เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงภาระที่ประชากรวัยทำงานต้องรับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอัตราส่วนพึ่งพิงวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 10.7 ในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็น 31.1 ในปี 2567

เท่ากับว่า ประชากรวัยทำงาน 100 คน รับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุประมาณ 31 คน ด้านอัตราส่วนเกื้อหนุน เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงจำนวนประชากรวัยทำงานที่สามารถให้การเกื้อหนุนผู้สูงอายุ 1 คนได้ ผลการสำรวจพบว่า อัตราส่วนเกื้อหนุนลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 9.3 ในปี 2537 ลดลงเป็น 3.2 โดยในปี 2567 ประชากรวัยทำงานประมาณ 3 คน ให้การเกื้อหนุนผู้สูงอายุ 1 คน

...

จากสถิติ ปี 67 พบว่าผู้สูงอายุไทยเพิ่มสูงขึ้นดังนี้

- วัยปลาย (80 ปีขึ้นไป)
ชาย 30.6%
หญิง 69.4%
รวม: 10.9%

- วัยกลาง (70-79 ปี)
ชาย 39.9%
หญิง 60.1%
รวม: 29.8%

- วัยต้น (60-69 ปี)
ชาย 45.3%
หญิง 54.7%
รวม: 59.3%

ข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งชาติ