ด้วยความจำเป็นในการรับมือกับปัญหาความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยที่นับวันจะพุ่งสูงขึ้นตามลำดับ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนี้จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาให้ได้ข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์เพื่อเตรียมแผนงานและโครงการไว้ล่วงหน้าทั้งการสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า การพัฒนาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆและการศึกษานวัตกรรมใหม่ๆในทางนี้

จึงมีการจัดคณะไปศึกษาของจริงในประเทศที่มีความก้าวหน้าในทางนี้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำความรู้ความเข้าใจมาปรับใช้ในประเทศเพื่อตอบสนองนโยบาย พลังงานไทย 4.0

ทีมงานที่ไปศึกษาเรื่องนี้เมื่อตอนต้นเดือนพฤษภาคม 2560 แยกแยะออกเป็น ทีมผู้บริหารฝ่ายการเมืองในกระทรวงพลังงาน อันประกอบด้วย พลเอกณัฐติพล กนกโชติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พลตรีวีรนันท์ ทองสุก ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ พันเอกหญิงอรอนงค์ พุกกะคุปต์ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ทีมคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กฟผ. ประกอบด้วย นายอภิชาต ชินวรรโณ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายชวน ศิรินันท์พร อดีตอธิบดีกรมการปกครอง พลเอกวลิต โรจนภักดี อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการฤษฎีกา

ทีมผู้บริหาร กฟผ. ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ นายรัตนชัย นามวงศ์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายวิวัฒน์ ชาญเชิงพาณิชย์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้านพัฒนาโรงไฟฟ้า นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้านบัญชี นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ หัวหน้ากองสื่อสารภายนอก ฝ่ายสื่อสารองค์การ นายนรินทร์ เผ่าวณิช หัวหน้ากองวิศวกรรมโยธาทั่วไป ฝ่ายวิศวกรรมโยธาและพลังน้ำ นายพิชัย ชูกาญจนพิทักษ์ หัวหน้าแผนกเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ฝ่ายบริหารงานวิศวกรรมโรงไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์

...

โดยมีทีมงานสื่อในเครือข่ายไทยรัฐเป็นผู้สังเกตการณ์

เป้าหมายหลักในการศึกษาครั้งนี้คือ โครงการ Stockholm Royal Seaport Smart Grid กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน อันเป็น โครงการชุมชนสมบูรณ์แบบที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2011 เพื่อมุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนในสามด้านคือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์ในการสร้างชุมชนให้มีความผาสุกทั้งด้านสวัสดิการพื้นฐาน รายได้ที่ยั่งยืน และการอยู่ร่วมกันของคนและสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน

ในการนี้ นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ เอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ได้ร่วมคณะในการรับฟังคำบรรยายและการสำรวจภูมิประเทศสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนด้วยตลอดรายการ

สิ่งที่ทีมงานคณะนี้ได้ประสบพบเห็นและเรียนรู้ในเชิงประจักษ์คือนวัตกรรมใหม่ด้านพลังงานที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกซึ่งจะได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจในวันพรุ่งนี้.

“ซี.12”