งาน Education Disruption Conference 2018 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ในวันที่ 30 มีนาคม 2561 จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการศึกษาในประเทศไทย ในแง่ของการปรับตัวและพัฒนาทักษะใหม่ๆ พร้อมผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาให้เท่าทันประเทศอื่นๆ ในโลก
ไทยรัฐออนไลน์ จึงจะขอมาสรุปเนื้อหาภายในงานจากวิทยากรผู้มากความสามารถให้ท่านผู้อ่านได้ชมกัน
...
Michael Staton หนึ่งในผู้ทางอิทธิพลที่สุดในโลกด้านการศึกษา และเป็นผู้จัดการกองทุนเบอร์หนึ่งของโลก Learn Capital ซึ่งเป็นบริษัทที่ลงทุนในเกี่ยวกับบริษัทที่นำเสนอเทคโนโลยีด้านการศึกษา มาให้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนาคตของการศึกษา โดยการนำตัวอย่างนวัตกรรมด้านการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จในต่างประเทศมายกตัวอย่าง ให้เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากบริษัทสตาร์ทอัพด้านการศึกษา อาทิ Photomath แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการแก้โจทย์วิชาคณิตศาสตร์ที่อยู่บนหน้ากระดาษ ที่ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดแล้วกว่า 80 ล้านครั้ง และ Sololearn แอปพลิเคชันเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ที่ปัจจุบันกลายเป็นแอปพลิเคชันสอนการเขียนโปรแกรมอันดับหนึ่งไปแล้ว เป็นต้น
Mark Pavlyukovskyy ซีอีโอของ Piper บริษัท EdTech Startups ที่ผลิต Computer Education Kids สำหรับเด็ก ได้มาแนะนำผู้ที่มีบุตรที่กำลังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ด้านการศึกษา เนื่องจาก Mark เป็นผู้คิดค้นอุปกรณ์เชิงประดิษฐ์ของเด็กที่แม้แต่ Elon Musk ยังต้องซื้อไปให้ลูกของเขาถึง 8 ชิ้นเพื่อใช้สอนลูก อีกทั้งผลิตภัณฑ์ของเขายังถูกนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนชั้นนำกว่า 1,000 แห่งในอเมริกา
นอกจากนี้เขายังให้ความคิดเห็นว่า นวัตกรรมจะสามารถสร้างประสบการณ์ที่มากกว่าในห้องเรียน ไม่ได้หมายความว่าในห้องเรียนไม่ดี แตจ่ปัจจุบันนี้หันไปทางไหนก็มีแต่คนให้สมาร์ทโฟน รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ดังนั้นการฝึกพื้นฐานให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเหล่านั้นจึงอาจเป็นข้อได้เปรียบในอนาคตของตัวเด็กเอง
Luis Pinto หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของบริษัท LearnCapital ให้ความเห็นในแง่ของการเรียนรู้แบบใดที่จะทำให้บุตรหลานของคุณกลายเป็น Inventor แห่งโลกอนาคตนี้ได้ ก่อนอื่นคือคนเป็นพ่อแม่ต้องเริ่มทลายกำแพง และความเชื่อแบบเดิมว่าความการศึกษาไม่ได้เกิดขึ้นได้แค่ในห้องเรียนเท่านั้น สำคัญคือคนเป็นพ่อแม่ยังจำเป็นต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับลูกเพื่อเปิดใจมองให้เห็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยให้บุตรหลานได้รับประสบการณ์จากสิ่งที่พวกเขาไม่เคยได้สัมผัส แต่ในขณะเดียวกัน...แบบแผนที่เคยมีมาไม่ใช่ไม่ดี เพียงแต่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว เราควรดูว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกๆ สามารถทำได้และทำได้ดี เพื่อสนับสนุนในเรื่องนั้นๆ ต่อไป
...
สมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน KBTG ยังได้มาเล่าประสบการณ์ส่วนหนึ่งในการบริหารองค์กรว่า การศึกษาเป็นเรื่องของการสร้างคน สร้างอนาคต สร้างเศรษกิจ รวมถึงการสร้างชาติในภาพรวม ดังนั้นถ้าพูดถึงการบริหารจัดการองค์กร ยุคนี้ถือเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อผู้คนมากที่สุด โดยเฉพาะกับ 3 ปัจจัยนี้ ได้แก่
1. สมาร์ทโฟน: จากการเข้าถึงของผู้คนหมู่มาก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นลูกค้าขององค์กรมีการเปลี่ยนถ่ายไลฟ์สไตล์การใช้งานจากการเดินไปที่สาขาเป็นการทำธุรกรรมผ่านโมบายบ์แบงก์กิ้ง
2. บล็อกเชน: เปลี่ยนวิธีคิดในการให้บริการไปจากเดิม โดยการเปลี่ยนถ่ายความน่าเชื่อถือจากคน มาสู่ความเชื่อถือในเทคโนโลยี และ
3. AI ปัญญาประดิษฐ์ที่แฝงมาให้เราได้สะดวกสบายกันมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีได้เรียนรู้ความต้องการของเรา ในขณะเดียวกันก็สร้างบางอย่างขึ้นเพื่อตอบโจทย์
...
ซึ่ง 3 องค์ประกอบนี้ได้เปลี่ยนวิถีขององค์กรให้หันไปพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น สุดท้ายผลกระทบก็กลับมาอยู่ที่คน จึงย้อนกลับไปสู่การวางรากฐานด้านการศึกษาให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อที่จะตอบโจทย์ในด้านเทคโนโลยีและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การจัดงานครั้งนี้ หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนภาคการศึกษาในประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างรากฐานแก่คนรุ่นใหม่ให้พร้อมที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืน พร้อมกับดึงศักยภาพของแต่ละบุคคลออกมาให้ได้มากที่สุด
...