อัปเดตค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กทม. ช่วงเช้ายังไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด พร้อมเตือนช่วงวันที่ 2-8 เม.ย. ค่าฝุ่น กทม. มีแนวโน้มสูงขึ้น จาก 3 สาเหตุ

วันที่ 3 เม.ย. 67 มีรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 วันที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 18.3-34.7 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 26.4 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด 

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ในช่วง 18.3-34.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.)

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 3-11 เม.ย. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อนถึงดี สภาวะอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัว และคาดการณ์วันนี้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานครพบจุดความร้อน ในวันที่ 2 เมษายน 2567 จำนวน 10 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 เวลา 13.10 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก

จุดที่ 2 เวลา 13.10 น. แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก

จุดที่ 3 เวลา 13.10 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก

จุดที่ 4 เวลา 13.35 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก

...

จุดที่ 5 เวลา 13.35 น. แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก

จุดที่ 6 เวลา 14.03 น. แขวงหนองจอก เขตหนองจอก

จุดที่ 7 เวลา 13.35 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก

จุดที่ 8 เวลา 13.10 น. แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี

จุดที่ 9 เวลา 13.10 น. แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี

จุดที่ 10 เวลา 14.03 น. แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี

(ทุกจุดเพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)

ขณะที่ นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 2-8 เม.ย. ค่าฝุ่น กทม. มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีอัตราการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ทั้งนี้ ด้วยสาเหตุ 3 ข้อ

1. ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ทิศทางลมเป็นทิศตะวันตก ต่างจากวันอื่นๆ ที่มาจากอ่าวไทย (ลมสะอาด)

2. ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ระบบ VIIRS รายงานว่า ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน พบ Hot spots ในช่วง 24 ชม. ค่อนข้างมาก 

3. วันที่ 9-10 เม.ย. อัตราการระบายจะลดลงจากปัจจุบันทำให้ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แต่คาดการณ์ว่าทิศทางลมจะกลับมาเป็นจากอ่าวไทย

  • เกณฑ์สีเหลือง (ระหว่าง 25-37.5 มคก.ลบ.ม.) ขอให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
  • เกณฑ์สีส้ม (ระหว่าง 37.6-75 มคก.ลบ.ม.) ขอให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก

ทั้งนี้หากมีอาการทางสุขภาพผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรปรึกษาแพทย์ 

ข้อมูลจาก แฟนเพจ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร