สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจประจำเดือนมิถุนายน 2566 ดาวเคียงจันทร์-วันครีษมายัน เวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
วันที่ 1 มิถุนายน 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจประจำเดือนมิถุนายน 2566 ดังนี้
- 2 มิถุนายน 2566 ดาวอังคารเคียงกระจุกดาวรวงผึ้ง สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 22.00 น.
- 4 มิถุนายน 2566 ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด สังเกตได้ทางทิศตะวันตก เวลาประมาณ 19.30 น. จนถึงเวลาประมาณ 21.30 น.
- คืน 9 - เช้า 10 มิถุนายน 2566 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 00.00 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 10 มิถุนายน 2566
- 14 มิถุนายน 2566 ดาวพฤหัสบดีเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 03.00 น. จนถึงรุ่งเช้า
- 14 มิถุนายน 2566 ดาวศุกร์เคียงกระจุกดาวรวงผึ้ง สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 21.20 น.
- 16 มิถุนายน 2566 กระจุกดาวลูกไก่เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 04.20 น. จนถึงรุ่งเช้า
- 17 มิถุนายน 2566 ดาวพุธเคียงดาวอัลดีบาแรนและดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 05.05 น. จนถึงก่อนรุ่งเช้า
...
- 20 มิถุนายน 2566 ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 20.00 น.
- 21 มิถุนายน 2566 วันครีษมายัน (Summer Solstice) เวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
- 21 มิถุนายน 2566 กระจุกดาวรวงผึ้งเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 20.30 น.
- 22 มิถุนายน 2566 ดาวศุกร์ และดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 21.10 น.
- 23 มิถุนายน 2566 ดาวเรกูรัสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 22.00 น.
- 27 มิถุนายน 2566 ดาวสไปกาเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 00.00 น.