"สำนักงานกิจการยุติธรรม" เผย วันแรงงานเป็นวัน "บังคับหยุด" แต่ถ้าหากทำงาน ต้องได้ค่าแรงเพิ่มอีก 1 เท่า ไม่เช่นนั้นมีความผิดตามกฎหมาย

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 แฟนเพจเฟซบุ๊ก สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้โพสต์ข้อความระบุว่า วันแรงงานเป็นวัน "บังคับหยุด" ผลจากการที่กฎหมายบังคับหยุด นายจ้างจึงต้องประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกๆ ปี เป็นวันหยุดตามประเพณี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หยุด 13 วัน บังคับวันแรงงาน 1 วัน ลูกจ้างควรทราบถึงสิทธิตัวเอง ดังนี้

  • ลูกจ้างต้องได้หยุดทุกคน
  • หากนายจ้างให้ทำงานลูกจ้างทำงาน จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงาน ในวันหยุดเพิ่มอีก 2 เท่า
  • นายจ้างจะเลื่อนวันแรงงานไปหยุดวันอื่นไม่ได้ (หากเลื่อนไปหยุดวันอื่นผลไม่เป็นโมฆะ แต่ใช้บังคับไม่ได้)
  • แต่มีงานที่นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้าง ให้หยุดวันอื่นชดเชยตาม หรือนายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้อยู่บ้าง ได้แก่ งานโรงแรม มหรสพ งานร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล สถานบริการท่องเที่ยว งานในป่า งานขนส่ง งานถิ่นธุรกันดาร หรืองานที่มีลักษณะ หรือสภาพต้องทำต่อกัน หากหยุดจะเสียหายแก่งาน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4
  • หากให้ทำงานล่วงเวลาในวันแรงงาน ต้องจ่ายเพิ่ม 3 เท่า
  • การไม่จัดวันแรงงานเป็นวันหยุด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

โดยสรุป ลูกจ้างทุกคนต้องได้หยุด หรือถ้าทำงานต้องได้ค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มอีก 1 เท่า มีทางเลือกแค่ 2 ทางนี้เท่านั้น นอกนั้นผิดกฎหมาย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 ในงานไม่กี่ประเภท และถ้าทำ OT วันแรงงานได้ 3 เท่า

...

  • สำหรับผู้ที่สนใจมาตรา หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องดู พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ดังนี้
    มาตรา 5 (นิยาม คำว่า "วันหยุด" กับ "ค่าตอบแทนในวันหยุด")
  • มาตรา 29 กฎหมายกำหนดให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี (ซึ่งรวมวันแรงงานด้วย) และมีข้อยกเว้นในกฎกระทรวง ฉบับที่ 4
  • มาตรา 62 ค่าทำงานในวันหยุด
  • มาตรา 56 การจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุด

ขอบคุณข้อมูล แฟนเพจเฟซบุ๊ก สำนักงานกิจการยุติธรรม