- สถิติอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วันอันตราย (11 – 17 เม.ย. 2565)
- ข้อเสนอต่อการต้ังจุดปฏิบัติการในช่วง 7 วันอันตราย, 3 เทคนิคเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไกล
- กฎหมายจราจรใหม่ที่ต้องรู้ เพิ่มโทษในข้อหาที่กระทบกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2566 ปีนี้คาดว่าจะมีจํานวนนักท่องเที่ยวและประชาชนเดินทางกลับภูมิลําเนามากเป็นพิเศษ เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และเมื่อเริ่มกลับมาเดินทางกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การจราจรติดขัดมากยิ่งขึ้นเช่นกัน เพราะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ทำให้มีการจัดงานรื่นเริงต่างๆ ติดกัน ทําให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ

จากข้อมูลของ ศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ที่ผ่านมา เมื่อย้อนดูสรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน (วันที่ 11 – 17 เม.ย. 2565) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,917 ครั้ง, ผู้บาดเจ็บ 1,869 คน, ผู้เสียชีวิต 278 ศพ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด คือ เชียงราย จำนวน 66 ครั้ง, จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด คือ เชียงใหม่ จำนวน 63 คน, จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ศพ, จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตรวม 6 จังหวัด ได้แก่ นครพนม, ปัตตานี, ยะลา, ระนอง, สมุทรสาคร และสิงห์บุรี
...
สำหรับจํานวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและจํานวนผู้บาดเจ็บในปี 2565 ได้ลดลงจากปี 2564 ที่ผ่านมา แต่กลับมีจํานวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยสถิติผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุมีอัตราที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการ "ขับรถด้วยความเร็วสูง" ทําให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต
ข้อมูลจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ระบุว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่ตายใกล้บ้าน ในระยะ 5 กิโลเมตร เพราะคิดว่าตัวเองคุ้นเคย ขับประจำ ใครๆ ก็ทำ จึงทำให้เกิดเหตุจนเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว
ข้อเสนอต่อการต้ังจุดปฏิบัติการในช่วง 7 วัน
1. บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 10 มาตรการ (10 รสขม)
- ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกําหนด
- ขับรถย้อนศร
- ฝ่าฝืนสัญญาณจราจร
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
- ไม่มีใบขับขี่
- แซงในที่คับขัน
- เมาสุรา
- ไม่สวมหมวกนิรภัย
- มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย
- ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เน้น ขับเร็ว ดื่ม ง่วง ไม่โทร - ไม่แชต
2. ควบคุมการจําหน่ายและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นกลุ่มเด็กและเยาวชนท่ีมีอายุต่ำกว่า 20 ปี เป็นพิเศษ และจังหวัดท่ีมีความเสี่ยงสูงควรจัดเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจ ออกดําเนินการเฝ้าระวังบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และกรณีท่ีเกิดเหตุในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ดื่มแล้วขับต้องมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้าผู้ขายส่งให้หน่วยงานหรือเจ้าพนักงานท่ีเกี่ยวข้อง ดําเนินคดีโดยเร่งด่วน
3. เฝ้าระวังและตรวจสอบการใช้อุปกรณ์ป้องกันและลดอันตรายในการขับขี่ (หมวกกันน็อก, คาดเข็มขัดนิรภัย)
4. สถานที่ตั้งจุดตรวจหรือจุดสกัดควรคํานึงถึง "พื้นที่เสี่ยง" โดยวิเคราะห์ข้อมูลท่ีผ่านมาเป็น ส่วนประกอบ ให้ตรงกับสภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ
5. เน้นการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง ช่วงเวลา "เสี่ยง" โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ – กลางคืนเพิ่มขึ้น
6. ปรับการตั้งเต็นท์ (จุดตรวจ, จุดบริการ, ด่านชุมชน) เป็นหน่วยลาดตระเวนเฝ้าระวังจุดเสี่ยง
ทางร่วม ทางแยก (งานเลี้ยงสังสรรค์, สกัดคนดื่มแล้วขับ, เตือนลดความเร็ว)
7. จัดตั้งด่านชุมชน เฝ้าระวังจุดเสี่ยงและมีอาสาสมัครสกัดผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในท้องถิ่น ชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นวิเคราะห์ข้อมูลจุดเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง ก่อนเทศกาล และบูรณาการผู้นําชุมชน อสม. ร่วมดําเนินการ รวมท้ังตรวจสอบคัดกรองบุคคลที่เข้ามาในพื้นที่ ป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามนโยบายของรัฐ โดยเคร่งครัดและประสานส่งต่อข้อมูลแก่หน่วยงาน หรือเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตามความจําเป็น
8. เฝ้าระวังเส้นทางรถไฟผ่าน กําหนดมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาบริเวณจุดตัดทางรถไฟ อาทิ จัดทําป้ายเตือน จัดทําคลื่นระนาดบนผิวถนน ติดตั้งไฟหรือสัญญาณเสียง
9. ดูแลความปลอดภัยพื้นท่ีท่องเท่ียว (ห้องน้ํา, ท่ีจอดรถ, การขับขี่ของนักท่องเที่ยว, ป้ายเข้า-ออกที่ชัดเจน)
10. สนับสนุนบทบาทของท้องถิ่น ชุมชน ใช้เสียงตามสาย หอกระจายข่าว ประกาศแจ้งเตือน ประชาชนในพื้นที่ให้ร่วมกันเฝ้าระวังป้องกันและเผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์ให้รับทราบอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
11. ให้ความสําคัญกับผู้ปฏิบัติงานทั้งในจุดตรวจ, จุดบริการ, ด่านชุมชน ในเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือการทํางานและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ไฟส่องสว่าง, ถุงมือ, กระบองไฟ, หน้ากากอนามัย ให้ทั่วถึงเพียงพอ
12. ถนนที่อยู่ในช่วงปรับปรุง หรือคืนพื้นที่ใช้งานระหว่างการก่อสร้าง ควรเก็บงานให้เรียบร้อย
ติดตั้งป้ายเตือน, ราวกั้น และไฟส่องสว่างให้เพียงพอต่อความปลอดภัยของผู้สัญจรผ่านไปมาอย่างเต็มที่ และ ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามากํากับดูแลให้เกิดความปลอดภัยอย่างเต็มที่

กฎหมายจราจรใหม่ที่ต้องรู้
พระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565 หรือกฎหมายจราจรฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้แล้ว ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565 และให้มีผลบังคับใช้ใน 120 วัน นับจากวันประกาศ ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา โดยสาระสําคัญของกฎหมายฉบับใหม่ จะเน้นการเพิ่มโทษในข้อหาที่กระทบกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน และการเพิ่มโทษผู้กระทําผิดซ้ำ พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับที่ 13 มีรายละเอียด ดังนี้
- เมาแล้วขับ
จะเพิ่มโทษผู้กระทําผิดซ้ำ ข้อหาขับรถในขณะเมาสุรา โดยทําผิดครั้งแรกมีอัตราโทษ จําคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 ถึง 20,000 บาท
หากทําผิดซ้ำข้อหา "เมาแล้วขับ" ภายใน 2 ปี นับแต่วันกระทําผิดครั้งแรก เพิ่มโทษเป็นจําคุกไม่
เกิน 2 ปี ปรับ 50,000 ถึง 100,000 บาท และศาลจะลงโทษจําคุกและปรับด้วยเสมอ รวมทั้งถูกพักใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
- อัตราโทษตามกฎหมายจราจรฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ 5 ก.ย. 2565
ฐานความผิด "ขับรถเร็วเกินกําหนด" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
ฐานความผิด "ฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
ฐานความผิด "ไม่หยดุรถให้คนข้ามทางม้าลาย" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
ฐานความผิด "ขับรถย้อนศร" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ฐานความผิด "จอดรถในที่ห้ามจอด" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ฐานความผิด "ไม่สวมหมวกนิรภัย" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ฐานความผิด "ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย" อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ฐานความผิด "ขับขี่โดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัย ในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น" อัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

3 เทคนิคเตรียมความพร้อม ก่อนเดินทางไกล
1. เตรียมตัว (คนพร้อม)
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ
- ไม่กินยาแก้ปวดแก้แพ้แก้หวัด หรือยาที่ทีผลข้างเคียงทําให้เกิดความง่วง
- ศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง
- เคารพกฎจราจร มีวินัยในการขับขี่
- หาข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เช่น แจ้งเหตุด่วน-เหตุร้าย 191 หรือแจ้งอุบัติเหตุฉุกเฉิน
1669
2. เตรียมรถ (รถพร้อม)
- ตรวจเช็กสภาพรถก่อนออกเดินทาง เช่น เข็มขัดนิรภัยน้ํามันเบรก ผ้าเบรก น้ํามันเครื่อง ท่ีปัดน้ําฝน อุปกรณ์ไฟทั้งหมด น้ําในหม้อน้ํา และเช็กลมยางก่อนออกเดินทางทุกครั้ง
- เตรียมอุปกรณ์ประจํารถ เช่น แม่แรง ยางอะไหล่ ร่ม ไฟฉาย สายลาก
3. พักรถพักคน (รถพร้อม คนพร้อม)
- หยุดพักรถเป็นระยะๆ เพื่อให้รถยนต์ได้พัก และระหว่างนี้ผู้ขับสามารถยืดเส้นยืดสาย คลายความเมื่อยล้าจากการขับรถ
สุดท้ายนี้ เทศกาลวันหยุดยาวสงกรานต์ ถือเป็นช่วงวันหยุดยาวที่หลายคนวางแพลนกลับไปหาครอบครัว ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ควรต้องเตรียมความพร้อมของตัวเอง และคํานึงเรื่องความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อจะได้กลับไปสังสรรค์สนุกสนานกับครอบครัว ชาร์จพลังงาน และได้อยู่กับคนที่คุณรัก.
@thairath_news ย้อนสถิติ 7 วันอันตรายช่วงสงกรานต์ 2565 พบตายเกินครึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว #7วันอันตราย #สงกรานต์ #ข่าวtiktok #ไทยรัฐออนไลน์ ♬ original sound - Thairath